วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(3) -ครูดอกไม้, ครูแต, ครูท๊อป, ครูณัฐ

ชื่อกิจกรรมตาดูหูฟัง” -โดย ครูดอกไม้
เป้าหมาย
-มีสติจดจ่อกับสิ่งที่ทำสามารถฟังเรื่องราวที่คุณครูเล่าพร้อมทั้งใช้สายตามองไปด้วยว่าคุณครูทำอะไรขณะนั้น
-นอบน้อมต่อเพื่อน เคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ย่อมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

กิจกรรม
-ครูและพี่ทักทายกันในตอนเช้า
-Brain gym 3ท่า (กระต่าย-ต้นหญ้า,กระต่าย-ซาลาเปา,ซาลาเปา-งูใหญ่)
-ครูให้พี่ๆกำกับสติโดยการหายใจเข้าออกอย่างเป็นจังหวะช้าๆฟังเสียงหัวใจของตนเองดูการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 1นาที
-ครูดอกไม้อธิบายกิจกรรมและสร้างข้อตกลงร่วมกัน
- พี่ๆฟังครูเล่าเรื่องราวพร้อมใช้สายมามองว่าคุณครูหยิบลูกปัดสีอะไรพี่ๆก็จะหยิบสีนั้นเช่นกันแล้วค่อยๆร้อยลงในเส้นสวดทีละลูก
- ครูแจกอุปกรณ์แล้วเริ่มเล่าเรื่องราวและเริ่มต้นรอบลูกปัด
- ก่อนจบกิจกรรมครูให้พี่ๆกับมารู้ตัวด้วน Brain gym ท่า ซาลาเปา-งูใหญ่
สื่อ : ลูกปัด /เส้นลวด /ถ้วยพลาสติก(ใบเล็ก)

คุณครูกลอยสะท้อนกิจกรรม
- มีการทักทายทำความรู้จักกัน
- กิจกรรมแปลกใหม่/สร้างสรรค์
- มีการเตรียมตัวดี(อุปกรณ์ ความพร้อม การลำดับกิจกรรม)
- กล่าวคำชื่นชม(empower)
- รู้จักชื่อเด็กๆทุกคน
.............................................................................................



ชื่อกิจกรรม: “เธอกับฉันร่วมกันเติมเต็ม” -โดย ครูแต
อุปกรณ์: ลูกยาง
เป้าหมาย:
- เห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆรอบตัว
- มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- มีความนอบน้อม เคารพต่อตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม
- ครูและนักเรียนทักทายยามเช้า
- ครูแตให้เด็กได้กลับมารู้ตัวอยู่กับตัวเองโดยการหลับตาสัมผัสถึงลมหายใจของตัวเองประมาณ 3 นาที
- สร้างข้อตกลงร่วมกันในระหว่างการทำกิจกรรมว่าในระหว่างที่รับหรือส่งเราจะรับไหว้ด้วยความนอบน้อม และเมื่อได้สิ่งของแล้วจะวางไว้ด้านหน้าของตัวเอง
- ครูแตเริ่มส่งตะกร้าลูกยางไปด้านซ้ายและด้านขวาโดยให้เด็กๆหยิบคนละ 1 กำมือ คนที่ได้แล้วจะวางไว้ด้านหน้าของตัวเอง หลังจากนั้นครูแตให้เด็กๆเรียงลูกยางที่ทุกๆคนได้ไว้ด้านหน้าของตัวเองช่วยกันเติมเต็มให้เป็นวงกลมใหญ่
- ครูแตให้คนแรกเริ่มนับเมล็ดยางที่อยู่ด้านหน้าของตัวเองหลังจากนั้นคนต่อมานับจำนวนลูกยางที่อยู่ด้านหน้าตัวเองต่อจากคนแรก
- ครูแตกระตุ้นด้วยคำถาม “ถ้าวงกลมนี้เป็นโลกของเรา หนึ่งสิ่งพี่อยากจะเติมเต็มให้โลกของเราคืออะไร”

คุณครูฟ้าสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- น้ำเสียงของคุณครู/ การชื่นชม/ ขอบคุณคนที่น่ารัก
- การเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า
- กิจกรรมน่าสนใจเป็นสิ่งใหม่ๆที่เด็กๆไม่เคยทำ
- เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
.............................................................................................

กิจกรรม : กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง -โดย ครูท๊อป
เป้าหมาย - เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักร่างกายและจิตใจมากขึ้นว่าทำงานกันอย่างไร
​- เพื่อให้เด็กมีสมาธิพร้อมที่จะเรียน
​- มีสร้างความคิดสร้างสรรค์
​- อธิบายผลงานของตนเองได้
​- เพื่อส่งเสริมการจินตนาการของเด็ก
กระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. หลังจากที่เคารพธงชาติ ครูพานักเรียนเดินกำกับสติ และพาเก็บใบไม้บริเวณทางเดินไปอาคารมัธยมเมื่อถึงห้องพานั่งเป็นวงกลม
2. ทำสมาธิ 3 นาที โดยให้ทุกคนค่อยๆหลับตาลง หายใจเข้าลึกๆและหายใจออกยาวๆ 5 ครั้ง สังเกตลมหายใจที่ปลายจมูก ข้างที่ชัดเจนมากที่สุด กลับมารู้ลมหานใจของตนเอง รู้ในการพูดและการฟัง
3. ครูแจกกระดาษ A4 ให้ทุกคน โดยวิธีการส่งต่อกันซึ่งก่อนที่จะรับทุกคนจะไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อมจนครบทุกคน
4. ครูอ่านบทความ “กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง”
"อากาศในสวนธรรมเช้านี้ช่างฉ่ำเย็น ด้วยหยาดฝนเม็ดสุดท้ายเพิ่งหยุดไป
วันนี้เป็นวันขี้เกียจของฉัน จึงได้โอกาสมาเดินเล่น
เมื่อก้าวย่างผ่านสะพานแห่งสติเข้าสู่ธรรมศาลา ก็ได้ยินเสียงกวาดใบไม้ทั่วบริเวณ
ฉันจับไม้กวาดแล้วเริ่มกวาด … ร่ายกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
กวาด…กวาด…กวาด
จิตหนีไปคิดก็รู้ ความคิดดับไป จิตเบิกบาน
จิตบางครั้งก็เป็นคนดู บางครั้งก็กลายเป็นคนคิด
บางครั้งความคิดก็ยาวกว่าจะรู้ทัน

เมื่อความคิดทำงาน
ใบไม้บางใบ … กวาดครั้งเดียวก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … เกาะกับพื้นไม้ที่เปียกชุ่ม …กวาดครั้งที่สองก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … ติดแน่น ถึงแม้กวาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าว ก็ไม่ยอมออก
​กิเลสก็เช่นเดียวกัน บางตัวออกง่าย บางตัวออกยาก บางตัวต้องกระทุ้ง บางตัวแค่สะกิด เราจึงต้องมีเครื่องมือหลายชนิดให้เหมาะกับกิเลสแต่ละแบบ และหากเรายังไม่ยอมหยุดเดินและยังคงเป็นผู้ดู กิเลสทั้งหมดต้องหลุดออกไปแน่นอน เฉกเช่นเดียวกับใบไม้บนลานนี้
จิตที่เป็นคนดู… บางครั้งก็เห็นความรู้สึกทางกายบ้าง ทางใจบ้าง
บางครั้งรู้สึกท้อแท้ เมื่อเผลอมองลานไม้อันกว้างใหญ่ที่มีใบไม้น้อยใหญ่ปกคลุม
เมื่อจิตมีความอยากให้เสร็จเร็ว พอตาเห็นลานกว้างเต็มไปด้วยใบไม้ จิตคิดว่าลานกว้างเหลือเกิน จะเสร็จไหม? จึงเกิดความรู้สึกท้อแท้ เมื่อจิตมีความอยาก แล้วไม่ได้อย่างที่อยาก ...จิตก็ทุกข์
บางครั้งรู้สึกหงุดหงิดใจ เมื่อแขนชักจะเริ่มเมื่อย
เมื่อทุกขเวทนาทางกายแทรกตัวเข้ามาในแขนตอนกำลังกวาด เกิดความรู้สึกหงุดหงิด…เป็นทุกข์ทางใจ
บางครั้งรู้สึกปลื้ม ที่ได้เห็นลานกว้างโล่งปราศจากใบไม้
เมื่อตาเห็นลานโล่ง ความคิดปรุงว่าได้ทำเสร็จแล้วและเป็นประโยชน์ เกิดความรู้สึกแช่มชื่นในจิต…เป็นกุศล
​กุศล อกุศล เวียนกันเกิด ผลัดกันดับ
ร่างกายถูกรู้ กับจิตใจที่เป็นคนดู เขาอยู่คนละส่วนกัน
เพียงแค่กวาดใบไม้หนึ่งชั่วโมง
ฉันได้รู้จักร่างกายและจิตใจมากขึ้นว่าเขาทำงานกันอย่างไร
เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
.. นี่คงเป็นความหมายของคำว่า “กายเคลื่อนไหว ใจตั้งมั่น”
ที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆในเสถียรธรรมสถาน
สวัสดีครับคุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาทุกท่าน"
5. ครูกระตุ้นด้วยถาม จากที่นักเรียนได้ฟังบทความข้างต้นนี้นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรและการที่เราเก็บใบไม้และฟังบทความที่ครูอ่านมีความแตกต่างกันอย่างไรโดยการเขียนหรือวาดภาพสื่อความรู้สึกลงในกระดาษที่แจก
6. ให้นักเรียนอ่านสิ่งที่ตนเองเขียนให้เพื่อนในห้องฟังจนครับทุกคน
7. ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า จากกิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้บ้างโดยให้นักเรียนบอกทีละคนจนครับทุกคน
8. ให้นักเรียนมาอยู่กับตัวเองมาอยู่กับลมหายใจของตัวพร้อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป

สะท้อนกิจกรรม
_ครูท๊อบเตรียมตัวก่อนทำกิจกรรมได้ดี มีการวางแผน เข้ามาพูดคุยกันล่วงหน้า
_กิจกรรมเหมาะกับเด็กมัธยม
_เวลาเหมาะสม และสร้างบรรยากาศด้วยการEmpower ตลอดเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์
.............................................................................................

กิจกรรมจิตศึกษาดัดลวด ขมวดคิด” -โดย ครูณัฐ
เป้าหมาย
-มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-เห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
-บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก และเพื่อให้เกิดความพยายาม
กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียน
-กำกับสติโดยการ Brain Gym 2 กระบวนท่า
-นักเรียนนั่งหลับตา 2 นาที เพื่อให้มีสติอยู่กับตัวเองและนึกถึงสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
-ครูนำอุปกรณ์(ลวด)มาวางไว้ด้านหน้า แล้วถามคำถามกับนักเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น สามารถนำมาทำเป็นอะไรได้บ้าง
-ครูแจกอุปกรณ์กับนักเรียนโดยการส่งไปเรื่อยๆทีละคนด้วยความนอบน้อม
-นักเรียนนำลวดที่แจกให้ มาดัดเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
-เมื่อดัดลวดออกมาเป็นรูปร่างที่ต้องการแล้ว ครูให้นักเรียนเล่าถึงสิ่งที่ทำออกมาว่ามีความเกี่ยวข้องและสำคัญกับตัวเองยังไงบ้าง
-ครูสรุป แทรกข้อคิดและถามคำถาม”นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้”

ครูแป้งสะท้อนกิจกรรม
-มีเป้าหมายที่ชัดเจน
-เป็นกิจกรรมใหม่ที่นำมาใช้และน่าสนใจ
-การใช้เส้นลวดที่ใหญ่ทำให้เด็กได้คิดวิธีแก้ปัญหาได้มากขึ้น
-เด็กสามารถจดจ่อกับสิ่งที่ครูพาทำได้ดี และให้ความร่วมมืออยู่กับกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
-มีการชื่นชมและให้กำลังใจได้ดี
-เด็กสามารถเชื่อมเชื่อมโยงกับสิ่งที่ทำได้ดีมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น