วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พี่พบน้องครั้งที่เจ็ด.. เทคนิคการเก็บเด็ก การตั้งชื่อหน่วยPBL?

ผู้ร่วมกิจกรรม ครูกลอย ครูเจษ ครูป้อม ครูNNK และ ครูกลุ่ม 1 (ยกเว้น ครูนัท ครูต้นยังไม่กลับจากน่าน)
เริ่มกิจกรรม เวลา 16:10 น.

        ครูป้อมนำกิจกรรมจิตศึกษา โดยมีอุปกรณ์ กระดาษและปากกาให้คนละ 1 ชุด แล้วให้ทุกคนวาดภาพตามที่ครูป้อมกำลังเล่า จากนั้นเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เล่าเรื่องราว หรือสิ่งที่กำลังคิดหรือกำลังนึกถึงในขณะที่ทำกิจกรรม
ซึ่งเรื่องราวที่คุณครูแต่ละคนถ่ายทอดออกมานั้นมีทั้งภาพในอดีตเมื่อตอนเป็นเด็กของตนเอง และมีทั้งภาพในอนาคตที่ใฝ่ฝัน เมื่อฟังแล้วรู้สึกมีความสุขและได้สัมผัสบรรยากาศในที่นั้นจริงๆ 
        ครูกลอยชวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปใช้กับชั้นเรียนของตนเอง จากนั้นได้แบ่งคุณครูออกเป็น 3 กลุ่ม แล้วให้แลกเปลี่ยนเพลง (เก็บเด็ก) ที่คิดว่าจะนำไปใช้ในชั้นเรียนได้พร้อมท่าทางประกอบประมาณ 15 – 20 นาที หลังจากนั้นชวนให้ทุกคนสะท้อนกิจกรรมที่เกิดขึ้นคิดว่าจะนำไปใช้กับการเรียนการสอน หรือกระบวนการจัดการในชั้นเรียนของตนเองได้อย่างไร
ซึ่งส่วนมากโดยเฉพาะคุณครูอนุบาลและคุณครูช่วงชั้นหนึ่งจะนำไปปรับใช้ในห้องเรียน เช่น เวลานักเรียนเริ่มขาดความสนใจ เล่นกัน คุยกันหรือบางเพลงนำไปใช้กับกิจกรรมจิตศึกษาได้ ส่วนคุณครูช่วงชั้นสองกับคุณครูมัธยมคิดว่าจะนำไปใช้ในกรณีออกไปเรียนรู้กลางแจ้ง เช่น ก่อนเล่นกีฬา สันทนาการ เป็นต้น
      หลังจากนั้นคุณครูแต่ละคนได้ Share ประสบการณ์ที่คิดว่าตนเองทำแล้วสำเร็จ และภูมิใจมากกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้เพื่อนๆ ชื่นชม และรับฟัง
จากที่ร่วม Share มีหลายวิธีแต่ละวิธีแตกต่างกันไป เช่น การชื่นชมคนที่น่ารัก การร้องเพลงเก็บ การแตะอวัยวะรอ เขียนชื่อคนที่น่ารักบนกระดาน เงียบเพื่อฟัง หาเรื่องเล่า นิทาน

      ต่อด้วยการชวนให้ทุกคนช่วยคิดว่าทำไมวิธีเดียวกัน บางคนทำแล้วสำเร็จ บางคนทำแล้วไม่สำเร็จ คิดว่ามีอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ / ทำไม
เมื่อชวนคิดแล้วข้อเสนอแนะก็จะมี สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง บุคลิก การเตรียมตัวก่อนทำให้กิจกรรมไหลลื่น

        ครูเจษชวนทุกคนคิดชื่อหน่วยที่เป็น PBL โดยเริ่มจากการชวนคิดก่อนว่า การสอนPBL เป็นอย่างไร จากนั้นทุกคนร่วมกันแลกเปลี่ยนชื่อหน่วยที่คิดว่าเป็น PBL พร้อมกับช่วยกันวิเคราะห์ว่าทำไมถึงคิดว่าเป็นชื่อหน่วยที่เป็น PBL โดยการอิงกับเนื้อหาของแต่ละชั้นเป็นหลัก เช่น

เรื่องฝากให้กับน้องๆ
1. การเตรียมตัวกิจกรรมหน้าเสาธง
2. เนื้อเพลง และท่าทางประกอบ (อาจจะเป็นคลิปก็ได้)
3. ความรับผิดชอบเรื่องเวรทั้งเช้า และบ่าย

*หมายเหตุ เนื่องจากในสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 2 – 6 ก.พ. 58 มีแขกสำคัญมาดูงานครูกลอย ครูเจษ และครูป้อมจึงเชิญชวนให้ครูน้องๆ เวียนจิตศึกษาอีกรอบเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะและกระตุ้นให้ครูน้องๆได้วางแผนล่วงหน้าในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละห้อง ดังนี้
เลิกกิจกรรม เวลา 19:00 น.
ผู้ดำเนินกิจกรรมครูกลอย ครูเจษ ครูป้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น