บรรยากาศแวดล้อมในช่วงฤดูหนาวทั่วโรงเรียนนอกกะลาในวันหยุด
เสียงนกร้องเจื้อยแจ้วเคล้ากับเสียงอันผ่อนคลายในยามโพล้เพล้ ได้เวลาตามนัดหมาย 13.00 น. คุณครูสังข์เริ่มต้นกิจกรรม
Body scan ให้น้องๆ ได้พักผ่อนใจ-กาย หลังจากรับประทานอาหารเที่ยง ตอนแรกที่พูดคุยไว้เราจะเริ่มด้วยจิตศึกษาก่อน
แต่คุณครูสังข์ขอทำกิจกรรเพื่อน้องสั้นๆ เปิดเพลงเสียงน้ำไหล มีเสียงลมหวีดหวิวดังขึ้นเป็นหนึ่งเดียวกับสายน้ำเนื่องๆ
ทุกคนได้ผ่อนคลายร่างกายอย่างมีสติ ก่อนที่ครูสังข์จะเล่าเรื่อง ‘แม่น้ำกับก้อนเมฆ’ ไว้ดังนี้ครับ
วันหนึ่งแม่น้ำสังเกตเห็นเงาสะท้อนของก้อนเมฆในตัวเธอ ก้อนเมฆเหล่านั้นมีรูปทรงและสีสันอันหลากหลาย เธอไล่ตามก้อนเมฆเหล่านั้นไป หวังจะได้ครอบครองก้อนเมฆสักก้อนหนึ่ง หากแต่ความเป็นจริงก้อนเมฆนั้นลอยละล่องอยู่บนท้องฟ้าอันแสนไกล และเปลี่ยนรูปร่างไปมาอยู่ตลอดเวลา บางทีก็เป็นรูปเสื้อโค้ต บางทีก็เป็นรูปม้า และด้วยความเปลี่ยนแปลงนั้นเองที่ทำให้แม่น้ำเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กลับกลายเป็นว่าความสุขความเบิกบานของเธอคือ การวิ่งไล่ตามก้อนเมฆก้อนแล้วก้อนเล่า ในขณะเดียวกันนั้นความสิ้นหวัง ความโกรธและความเกลียดชังก็ค่อยๆ กลายเป็นชีวิตของเธอ
แล้ววันหนึ่งเกิดมีลมแรงพัดพาเอาก้อนเมฆทั้งหมดหายไปจากฟากฟ้า ท้องฟ้าพลันว่างเปล่า เมื่อไม่มีก้อนเมฆให้แม่น้ำวิ่งไล่ตาม ชีวิตก็ช่างดูไร้ค่าเกินกว่าที่จะเธออยู่ต่อไป เธออยากตายและรำพึงกับตัวเองว่า "ฉันจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม ในเมื่อไม่มีก้อนเมฆเหล่านั้น" จึงเกิดคำถามกับตนเองว่าแม่น้ำจะคร่าชีวิตตัวเองได้อย่างไร
ในคืนนั้นแม่น้ำได้มีโอกาสกลับมาใคร่ครวญอยู่กับตัวเองเป็นครั้งแรก เธอพบว่าที่ผ่านมาเธอมัวแต่วิ่งไล่ตามสิ่งที่อยู่ภายนอก โดยที่เธอไม่เคยย้อนกลับมามองดูตัวเองเลย และคืนนี้เป็นครั้งแรกที่เธอได้ยินเสียงร้องไห้ของตัวเอง เสียงน้ำที่กระทบกับสายน้ำใหญ่ เธอได้ค้นพบบางสิ่งที่สำคัญเมื่อเธอสามารถฟังเสียงภายในตัวเอง เธอพบว่าสิ่งที่เธอเฝ้าตามหามาตลอดนั้นอยู่ในตัวเธอเอง ก้อนเมฆและน้ำนั้นเป็นดั่งกันและกัน ก้อนเมฆกำเนิดมาจากน้ำ และสุดท้ายก้อนเมฆก็กลายเป็นน้ำ ตัวเธอเองก็คือน้ำเช่นกัน
เช้าวันรุ่งขึ้น เมื่อพระอาทิตย์ส่องฉายไปทั่วท้องฟ้า แม่น้ำได้พบบางสิ่งที่สวยงามเป็นครั้งแรก ซึ่งเธอไม่เคยสังเกตเห็นท้องฟ้าสีครามมาก่อน ตลอดเวลาที่ผ่านมาเธอมัวแต่สนใจก้อนเมฆ โดยไม่เคยมองท้องฟ้าที่เป็นบ้านของก้อนเมฆเลย ก้อนเมฆนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ท้องฟ้านี่สิมั่นคง เธอตระหนักได้ว่าท้องฟ้าอันกว้างใหญ่นั้นอยู่ในใจเธอมาตั้งแต่แรกเริ่ม ปัญญาหรือความรู้แจ้งอันยิ่งใหญ่นี้นำความสุขสงบมาสู่แม่น้ำ เมื่อใดก็ตามที่เธอมองท้องฟ้าอันกว้างใหญ่งดงาม เธอจะรู้ว่าความสงบศานติและความมั่นคงนั้นอยู่กับเธอเสมอและในบ่ายวันนั้นก้อนเมฆก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง แต่ครั้งนี้แม่น้ำไม่ได้อยากครอบครองก้อนเมฆอีกแล้ว เธอกลับมองเห็นเพียงความสวยงามของก้อนเมฆแต่ละก้อน และยินดีกับการมีอยู่ของก้อนเมฆ เมื่อก้อนเมฆมาเยี่ยมเยือนท้องฟ้า เธอต้อนรับด้วยความรักความเมตตา และเมื่อก้อนเมฆจากไป เธอก็โบกมือลาด้วยความสุขและความรักความเมตตาเช่นเดียวกัน เพราะแม่น้ำรู้ว่าก้อนเมฆเหล่านั้นก็คือเธอ เธอไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างตัวเธอกับก้อนเมฆ ความสงบและความกลมกลืนกันนั้นมีอยู่ระหว่างเธอและก้อนเมฆ
เย็นวันนั้น เมื่อแม่น้ำเปิดใจกว้างอย่างเต็มเปี่ยมให้กับท้องฟ้ายามเย็น สิ่งสวยงามก็เกิดขึ้น เธอได้พบภาพสะท้อนของพระจันทร์เต็มดวงที่สวยงาม กลมโตดั่งเพชรที่อาบฉายลงในตัวเธอ เธอไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าเธอจะสามารถสะท้อนภาพที่งดงามเช่นนั้นได้ ดังเช่นบทกวีของจีนที่กล่าวไว้ว่า "ดวงจันทร์ที่แสนสวยงามสดชื่น เดินทางท่องเที่ยวไปในท้องฟ้ากว้างไกล เมื่อจิตใจอันกว้างใหญ่ดั่งแม่น้ำของสรรพสิ่งเป็นอิสระ เมื่อนั้นภาพสะท้อนของดวงจันทร์อันสวยงามจะฉาดฉายในตัวเรา" จิตใจของแม่น้ำในขณะนั้นเป็นเช่นนี้เอง เธอได้สะท้อนภาพของพระจันทร์ที่สวยงามในใจเธอ ในขณะนั้นเสมือนว่า แม่น้ำ ก้อนเมฆ และพระจันทร์ต่างส่งกำลังใจ ความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดีต่อกัน กำลังจับมือกันเดินทางอย่างช้าๆ ไปสู่มหาสมุทรอย่างมีความสุข
เรื่องเล่าจบลง.. ก่อนลุกขึ้นนั่งครูสังข์ให้ทุกคนฟังเสียงลมหายใจของตัวเอง
กลับมาอยู่กับตัวเราเอง ให้ทุกคนนับถอยหลังจาก 1 ถึง 5 บอกตัวเองว่าเราจะเป็นคนที่ยอดเยี่ยม
เราจะเป็นคนที่มีความสุข...จากนั้นครูสังข์เชิญทุกคนลุกขึ้นนั่งด้วยความผ่อยคลาย
เวลา 13.25 น.
พวกเราพาน้องยืดเส้นยืดสาย
เพราะเห็นว่าหลายคนยังรู้สึกงัวเงียโงนเงนกันอยู่ เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายของทุกคนได้ผ่อนคลายจากอาการงัวเงียอ่อนล้า
ครูเส็งต่อด้วยกิจกรรมจิตศึกษา
เริ่มจากให้ทุกคนหลับตานั่งตัวตรงมีสมาธิผ่อนคลายอวัยวะทุกส่วนกำหนดลมหายใจเข้า-ออกเป็นจังหวะสอดรับกับคำพูดที่ตื่นเต้นพูดตะกุกตะกักอยู่บ้างในช่วงแรก และครูเส็งต่อด้วยกิจกรรม
Brain Gym สั้นๆ ก่อนที่ครูเส็งจะแจกช่องภาพ/บัตรคำให้แต่ละคนวางไว้ข้างหน้านั้น
‘ชื่นชมคนที่ยอดเยี่ยม / คนที่ไหว้เพื่อนด้วยความนอบน้อมในขณะที่รับสิ่งของจากเพื่อนๆ
รอบวง’ เป็นคำพูดEmpower ของผู้ที่ค่อย
อำนวยกิจกรรมจะพูดอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้ทุกคนได้รื่นรมย์ในบรรยายกาศในวงจิตศึกษา พอแจกช่องภาพ/บัตรคำวางไว้ตรงหน้าครบทุกคนแล้ว
ครูเส็งก็เชิญทุกคนให้เปิดช่องจดหมายดูภาพ/บัตรคำ แล้วให้โจทย์กับทุกคนว่า
“เราคิดว่าภาพหรือบัตรคำที่เห็นนั้น มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเราอย่างไร?”
แล้วให้แต่ละคนได้บอกเล่าถึงภาพดังกล่าวให้ทุกคนในวงรับรู้
ภาพหรือบัตรคำที่เตรียมมานั้น เช่น ภาพหมอน ภาพโทรศัพท์
ภาพพระอาทิตย์กำลังตกติดท้องฟ้าเหลืองอร่าม – บัตรคำ แม่, โรงเรียน, เป็นต้น
..พอทุกคนบอกความหมายภาพ/บัตรคำครบครูเส็งให้ทุกคนในวงเล่าเรื่องเชื่อมแต่ละภาพ/บัตรคำเป็นเรื่องราว(แต่งนิทาน)เดียวกัน
เริ่มจากผมได้ภาพ ‘โทรศัพท์บ้าน’...เล่ารอบวงไปจนถึง...ครูเส็งที่ได้บัตรคำคำว่า ‘แม่’
พวกเราถอดความเข้าใจจากน้องๆ
ว่าจากทั้ง 2 กิจกรรมที่ครูสังข์กับครูเส็งทำ “น้องๆ จะนำกิจกรรมไปปรับใช้กับเราอย่างไร?
อะไรบ้างเป็นสิ่งใหม่ที่เราได้เรียนรู้จากทั้ง 2 กิจกรรมนี้?” น้องทุกคนได้บอกถึงสิ่งจะนำไปปรับใช้ในชั้นเรียน
เช่น การใช้น้ำเสียงโทนเสียงที่น่าฟังไฟเราะในการเล่าเรื่อง การขอบคุณ
บรรยากาศในการทำกิจกรรม การวางแผนล้วงหน้า ฯลฯ
ทุกคนร่วมกันสะท้อนกิจกรรมสังเกตการณ์การสอนของน้องๆ
ครูใหม่ ได้แก่ ครูดอกไม้ (กิจกรรมจิตศึกษา ป.5) ครูหนัน (ภาษาไทย ป.3
/เขียนตามคำบอก) ครูเหมี่ยว (ภาษาไทย ป.2/ คำ รร เช่น บรรจง บันทึก)และครูแต
(ภาษาอังกฤษ ป.4) ส่วนน้องคนที่เหลือจะพูดคุยสะท้อนกันในการประชุมคราวหน้า
พวกเราครูกลุ่ม 2 คนที่ไปสังเกตน้องก็ได้พูดคุยสะท้อนถึงน้อง
‘สิ่งที่น้องทำได้ดีแล้ว’ เป็นการพูดเสริมแรงด้านบวกให้น้องๆ
ที่มีความตั้งใจความพยายามเตรียมกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์เรียนรู้วันนั้น
แววตาของผู้พูดเปล่งประกายด้วยความปีติซึ่งสามารถบ่งบอกถึงไมตรีจิตที่พี่ส่งถึงน้อง
‘สิ่งที่ควรนำไปพัฒนา’ คนที่ไปสังเกตสะท้อนในสิ่งที่แต่ละคนเห็นว่าสิ่งที่ควรจะนำไปพัฒนาเพิ่มในกิจกรรมหรือสิ่งที่พี่เห็นว่าน้องน่าจะนำไปปรับเล็กๆน้อยๆ
ในแต่ละช่วงของกิจกรรม โดยภาพรวมพวกเราชื่นชมความพยายามของน้องครูใหม่ที่พวกเราได้ไปร่วมสังเกตการสอนมาครับ
กิจกรรมต่อมา..พวกเราให้น้องทุกคนได้เขียนออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครื่องมือคิดแผนภาพของเวนน์–ออยเลอร์ (Venn-Euler
Diagram) เพื่อให้น้องเขียนถึงหน้างานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่
สะท้อนความเข้าใจของครูใหม่แต่ละคน
พวกเราแจกกระดาษA4 ให้น้อง จากนั้นให้ทุกคนวาดวงกลม 3 วง แต่ละวงเชื่อมกันดังตัวอย่างที่เตรียมไว้ให้น้องดู
(คล้ายสัญลักษณ์ช่อง 7 สี)
พื้นที่แต่ละวงจะมีจุดเชื่อมกันอยู่กับอีกกิจกรรมที่อยู่ติดกัน แล้ว 3 วงก็จะมีจุดเชื่อมกันตรงกลาง ในส่วนพื้นที่วางของแต่ละวงจะให้น้อ
ครูแดงต่อด้วยการเล่านิทาน 1 เรื่อง ‘กูจี
กูจี’ หลังจากเล่านิทานจบลงครูแดงได้พูดคุยแนะนำเทคนิคการ
เล่า
การใช้คำถามเชื่อมโยงจากนิทาน เช่น เห็นอะไร? รู้สึกอย่างไร? มีใครบ้าง? ทำอะไร?
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ถ้าเป็นนักเรียนจะทำอย่างไร? ฯลฯ
การเล่านิทานสามารถเล่าได้หลากหลาย เช่น จากหนังสือนิทาน / เล่าไปวาดไป/
เล่าไปพับไป/ เล่าไปตัดไป /เล่าไปฉีกไป ฯลฯ ครูต๊อกมีตัวอย่างการเล่านิทานของ
อ.ปรีดา ปัญญาจันทร์ ที่ถ่ายทำไว้แชร์ไว้ในไฟล์ครูจะส่งให้กับน้องๆ
ทุกคนในเมลครูทุกคน เพื่อให้ครูดูเทคนิคการเล่านิทานสำหรับนักเรียน
กิจกรรมสุดท้ายครั้งนี้..
พวกเราพาน้องๆ ร่วมกิจกรรมการตั้งคำถามทำไม?
แล้วตอบ.. เป็นคำถามทำไมของโรงเรียนนอกกะลาที่
พวกเราเคยทำกิจกรรมนี้มาก่อนตอนมาเป็นครูใหม่
ผ่านเครื่องมือคิดHot ball น้องหลายคนต่างตื่นเต้น
สนุกสนาน มีบางคนอาจจะเคยอ่านมาแล้วในช่วงท้ายของหนังสือ ‘วุฒิภาวะของความเป็นครู’ เขียนโดยครูใหญ่ แต่ละคนสามารถที่จะตอบพร้อมให้เหตุผลได้ดีจากสิ่งที่ตนเองได้ผ่านวิถีของโรงเรียนและจากสิ่งที่ทำ
สุดท้ายครูสังข์และพี่กลุ่ม 2
ได้ให้เอกสารคำถามทำไมและ ทบทวนจิตศึกษาของคุณครูใหญ่ ให้กับน้องๆ ได้กลับไปทบทวนทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
หลังจากกิจกรรมจบลงเลย 4 โมงเย็น เรารู้สึกอิ่มเอมยินดี หายเมื่อยหายเหนื่อยเมื่อเห็นน้องๆ
ได้เรียนรู้ทุกๆ กิจกรรมที่เราเตรียมมาให้เป็นอย่างดี และพวกเราประชุมสรุปกันต่อ
AAR (ครูแดงสรุปไว้ดังนี้ครับ)
กิจกรรมพี่พบน้องครั้งต่อไป
ในวันพฤหัสบดี ที่ 18 ธันวาคม 2557 (พี่กลุ่ม
1 คือ ครูเจษ ครูกลอย ครูป้อม)
กิจกรรมจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
- ทบทวนเกี่ยวกับวิถี และคำถามทำไม
- การสังเกตการณ์สอนของครูใหม่
(น้องกลุ่ม 1)
- กิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครื่องมือคิดแผนภาพของเวนน์–ออยเลอร์ (Venn-Euler
Diagram) (จิตศึกษา
PBL รายวิชา)
ที่น้องๆ ได้ทำไว้แล้ว พูดคุยอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น