วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(4) -ครูนัฐ, ครูเดีย, ครูเหมี่ยว, ครูนาจ

กิจกรรมจิตศึกษา “สิ่งที่อยู่รอบตัว” -โดย ครูนัฐ
เป้าหมาย
-มีสมาธิและรู้ตัว
-การสังเกตของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้างตัวเอง
-ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองให้เพื่อนฟังได้

กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียน
-กำกับสติสติ โดยการให้ยืนสงบนิ่งอยู่กับตัวเองและนึกถึงสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว 2 นาที
-ครูให้โจทย์กับนักเรียน โดยการเดินสำรวจรอบๆอาคารมัธยมและให้สังเกตสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้าง เป็นเวลา 5 นาที แล้วนัดหมายให้นักเรียนรวมกันที่ใต้ถุน ม.1
-ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการเดินสำรวจ ว่าพี่ๆ ม.1 แต่ละคนมองเห็นอะไรบ้างในขณะที่เดินสำรวจ และถ่ายทอดให้เพื่อนๆฟัง
-ครูสนทนาและตั้งคำถามกับนักเรียน กับสิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็นในระหว่างที่เดินสำรวจว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง (ตนเองและสภาพแวดล้อม)
-ครูเล่าเรื่อง เกี่ยวกับการสังเกตเพื่อให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดและแทรกข้อคิดกับนักเรียนในช่วงท้าย

ครูประจำชั้นสะท้อนกิจกรรม(ครูณี/ครูป้อม)
-การใช้น้ำเสียงธรรมชาติ คำพูดที่น่าฟัง
-การเตรียมเรื่องเล่าเหมาะสมกับวัยของนักเรียน
-การใช้เวลาที่เหมาะสม
-การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน
.........................................................................................................


ชื่อกิจกรรม
ร้อยดอกรัก” -โดย ครูเดีย
เป้าหมาย - มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ
- ฝึกประสาทสัมผัสความสัมพันธ์ของมือและตา
- ใจเย็นมีความอดทนและรู้จักรอคอย
กิจกรรม
- ทักทาย พูดคุยกันตอนเช้า
- Brain gym 2 ท่า ขนมจีบ-ถาดตัวแอล, กระต่าย-กอหญ้า
- ครูเดียเริ่มต้นด้วยการถามพี่ๆ ป.4 ว่าพี่ๆ คิดว่าสิ่งที่มองเห็นคืออะไร, ทำอะไรได้บ้าง-ทำอะไรไม่ได้บ้าง
- ครูและเด็กๆ สร้างข้อตกลงร่วมกันว่าจะส่งอุปกรณ์ด้วยความตั้งใจ เมื่อรับอุปกรณ์แล้วจะวางมือทั้ง 2 ข้าง ไว้บนตักของตัวเอง
- ครูเริ่มส่งอุปกรณ์ให้พี่ ป.4 จากนั้นพี่ๆ ป.4 ก็ลงมือร้อยดอกรักด้วยความตั้งใจและมีสติขณะที่ทำก็รับรู้ถึงลมหายใจเข้าออก
สื่อ : เชือกร้อย / ดอกรัก
.....................................................................

กิจกรรม จิตแปลงร่างเมล็ดถั่วเป็นผลไม้ -โดย ครูเหมี่ยว
เป้าหมาย:
- บ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม
- มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- เห็นความเชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตัวเอง คนอื่น หรือสิ่งของ
- เห็นความแตกต่างของสี และลักษณะต่างๆ
- มีความรัก ความเมตตา เคารพนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
กิจกรรม:
- Brain Gym กำกับสติ 2 ท่า ท่ากำแบ 10 ครั้ง ตะปูและค้อน, กอหญ้าและกระต่าย 10 ครั้ง
- ครูเหมี่ยวมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ที่ออกหากินผลไม้ให้เด็กๆได้ฟังเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม
- ครูให้นักเรียนแปลงร่างเมล็ดถั่วเป็นผลไม้ที่ค้างคาวกิน
- เมื่อแปลงร่างเสร็จแล้วครูมีคำถามนักเรียนว่าเพราะเหตุใดพี่ป1ถึงแปลงร่างพี่ถั่วเป็นผลไม้นั้น
- ครูให้พี่ๆ แยกสีถั่วเขียวและถั่วแดง
- ครูขอสัญญาณความพร้อมจากพี่ป1 คนที่น่ารักจะส่งสัญญาณให้ครูโดยการนั่งตัวตรงหลังตรง
- ครูขอบคุณทุกเรื่องราวดีๆทุกความตั้งใจของพี่ป1
อุปกรณ์: เมล็ดถั่วเขียวและถั่วแดง

ครูเจษสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- เตรียมอุปกรณ์และสื่อ
- ก่อนทำ Brain Gym มีการเล่าเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ทำ
- มีการชื่นชม
............................................................................

กิจกรรมจิตศึกษา พี่จุด พี่เส้นประ พี่เส้นตรง แห่งจินตนาการ -โดย ครูนาจ
เป้าหมาย:
- มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- เห็นคุณค่าของตนเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีสติ
กิจกรรม:
- พูดคุยสนทนาทักทายนักเรียนตอนเช้า
- Brain Gym กำกับสติ 2 ท่า ท่ากำแบ 10 ครั้ง จีบแอล 10 ครั้ง
- สติสนทนา กำหนดลมหายใจเข้าออก 2 นาที ครูนาจเล่า เรื่องสิ่งที่ประทับใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่มี ภูเขา นำ้ตก และสิ่งมีชีวิตต่างๆที่มาคอยแต่งเติมให้น้ำมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย
- ครูโชว์แผ่นป้าย จุด เส้นประ และเส้นตรง แล้วให้นักเรียนเล่าสิ่งที่ตนเองเห็น
- ครูแจกกระดาษรูปหัวใจ คนละ1อัน และสีเมจิกคนละ 1 ด้าม
- ครูขอสัญญาณความพร้อมจากพี่ป.2 พี่ที่น่ารักจะส่งสัญญาณโดยการนั่งหลังตรงตัวตรง
- ครูให้นักรียนทำ พี่จุด พี่เส้นประ พี่เส้นตรงโดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งมาตกแต่งพี่รูปหัวใจให้สวยงาม
- ครูขอสัญญาณความพร้อมจากพี่ป.2 พี่ที่น่ารักจะส่งสัญญาณโดยการนั่งหลังตรงตัวตรง
- ให้นักเรียนโชว์ชิ้นงานและนำเสนอให้เพื่อนๆฟัง
- ครูขอบคุณทุกความตั้งใจ เรื่องราวดีๆและความร่วมมือของพี่ป.2
- ให้นักเรียนมาอยู่กับตัวเองอยู่กับลมหายใจของตนเองเตรียมพร้อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป
สื่อและอุปกรณ์:  กระดาษรูปหัวใจ / สีเมจิก / แผ่นป้าย จุด เส้นประ เส้นตรง

ครูกลอยสะท้อนกิจกรรมดังนี้ครับ
- มีการตัวและเตรียมอุปกรณ์
- ใช้น้ำเสียงและโทนเสียง
- Empower ชื่นชม เสริมแรงเด็ก
............................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พี่พบน้องครั้งที่เจ็ด.. เทคนิคการเก็บเด็ก การตั้งชื่อหน่วยPBL?

ผู้ร่วมกิจกรรม ครูกลอย ครูเจษ ครูป้อม ครูNNK และ ครูกลุ่ม 1 (ยกเว้น ครูนัท ครูต้นยังไม่กลับจากน่าน)
เริ่มกิจกรรม เวลา 16:10 น.

        ครูป้อมนำกิจกรรมจิตศึกษา โดยมีอุปกรณ์ กระดาษและปากกาให้คนละ 1 ชุด แล้วให้ทุกคนวาดภาพตามที่ครูป้อมกำลังเล่า จากนั้นเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เล่าเรื่องราว หรือสิ่งที่กำลังคิดหรือกำลังนึกถึงในขณะที่ทำกิจกรรม
ซึ่งเรื่องราวที่คุณครูแต่ละคนถ่ายทอดออกมานั้นมีทั้งภาพในอดีตเมื่อตอนเป็นเด็กของตนเอง และมีทั้งภาพในอนาคตที่ใฝ่ฝัน เมื่อฟังแล้วรู้สึกมีความสุขและได้สัมผัสบรรยากาศในที่นั้นจริงๆ 
        ครูกลอยชวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปใช้กับชั้นเรียนของตนเอง จากนั้นได้แบ่งคุณครูออกเป็น 3 กลุ่ม แล้วให้แลกเปลี่ยนเพลง (เก็บเด็ก) ที่คิดว่าจะนำไปใช้ในชั้นเรียนได้พร้อมท่าทางประกอบประมาณ 15 – 20 นาที หลังจากนั้นชวนให้ทุกคนสะท้อนกิจกรรมที่เกิดขึ้นคิดว่าจะนำไปใช้กับการเรียนการสอน หรือกระบวนการจัดการในชั้นเรียนของตนเองได้อย่างไร
ซึ่งส่วนมากโดยเฉพาะคุณครูอนุบาลและคุณครูช่วงชั้นหนึ่งจะนำไปปรับใช้ในห้องเรียน เช่น เวลานักเรียนเริ่มขาดความสนใจ เล่นกัน คุยกันหรือบางเพลงนำไปใช้กับกิจกรรมจิตศึกษาได้ ส่วนคุณครูช่วงชั้นสองกับคุณครูมัธยมคิดว่าจะนำไปใช้ในกรณีออกไปเรียนรู้กลางแจ้ง เช่น ก่อนเล่นกีฬา สันทนาการ เป็นต้น
      หลังจากนั้นคุณครูแต่ละคนได้ Share ประสบการณ์ที่คิดว่าตนเองทำแล้วสำเร็จ และภูมิใจมากกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้เพื่อนๆ ชื่นชม และรับฟัง
จากที่ร่วม Share มีหลายวิธีแต่ละวิธีแตกต่างกันไป เช่น การชื่นชมคนที่น่ารัก การร้องเพลงเก็บ การแตะอวัยวะรอ เขียนชื่อคนที่น่ารักบนกระดาน เงียบเพื่อฟัง หาเรื่องเล่า นิทาน

      ต่อด้วยการชวนให้ทุกคนช่วยคิดว่าทำไมวิธีเดียวกัน บางคนทำแล้วสำเร็จ บางคนทำแล้วไม่สำเร็จ คิดว่ามีอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ / ทำไม
เมื่อชวนคิดแล้วข้อเสนอแนะก็จะมี สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง บุคลิก การเตรียมตัวก่อนทำให้กิจกรรมไหลลื่น

        ครูเจษชวนทุกคนคิดชื่อหน่วยที่เป็น PBL โดยเริ่มจากการชวนคิดก่อนว่า การสอนPBL เป็นอย่างไร จากนั้นทุกคนร่วมกันแลกเปลี่ยนชื่อหน่วยที่คิดว่าเป็น PBL พร้อมกับช่วยกันวิเคราะห์ว่าทำไมถึงคิดว่าเป็นชื่อหน่วยที่เป็น PBL โดยการอิงกับเนื้อหาของแต่ละชั้นเป็นหลัก เช่น

เรื่องฝากให้กับน้องๆ
1. การเตรียมตัวกิจกรรมหน้าเสาธง
2. เนื้อเพลง และท่าทางประกอบ (อาจจะเป็นคลิปก็ได้)
3. ความรับผิดชอบเรื่องเวรทั้งเช้า และบ่าย

*หมายเหตุ เนื่องจากในสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 2 – 6 ก.พ. 58 มีแขกสำคัญมาดูงานครูกลอย ครูเจษ และครูป้อมจึงเชิญชวนให้ครูน้องๆ เวียนจิตศึกษาอีกรอบเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะและกระตุ้นให้ครูน้องๆได้วางแผนล่วงหน้าในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละห้อง ดังนี้
เลิกกิจกรรม เวลา 19:00 น.
ผู้ดำเนินกิจกรรมครูกลอย ครูเจษ ครูป้อม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(3) -ครูดอกไม้, ครูแต, ครูท๊อป, ครูณัฐ

ชื่อกิจกรรมตาดูหูฟัง” -โดย ครูดอกไม้
เป้าหมาย
-มีสติจดจ่อกับสิ่งที่ทำสามารถฟังเรื่องราวที่คุณครูเล่าพร้อมทั้งใช้สายตามองไปด้วยว่าคุณครูทำอะไรขณะนั้น
-นอบน้อมต่อเพื่อน เคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ย่อมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

กิจกรรม
-ครูและพี่ทักทายกันในตอนเช้า
-Brain gym 3ท่า (กระต่าย-ต้นหญ้า,กระต่าย-ซาลาเปา,ซาลาเปา-งูใหญ่)
-ครูให้พี่ๆกำกับสติโดยการหายใจเข้าออกอย่างเป็นจังหวะช้าๆฟังเสียงหัวใจของตนเองดูการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 1นาที
-ครูดอกไม้อธิบายกิจกรรมและสร้างข้อตกลงร่วมกัน
- พี่ๆฟังครูเล่าเรื่องราวพร้อมใช้สายมามองว่าคุณครูหยิบลูกปัดสีอะไรพี่ๆก็จะหยิบสีนั้นเช่นกันแล้วค่อยๆร้อยลงในเส้นสวดทีละลูก
- ครูแจกอุปกรณ์แล้วเริ่มเล่าเรื่องราวและเริ่มต้นรอบลูกปัด
- ก่อนจบกิจกรรมครูให้พี่ๆกับมารู้ตัวด้วน Brain gym ท่า ซาลาเปา-งูใหญ่
สื่อ : ลูกปัด /เส้นลวด /ถ้วยพลาสติก(ใบเล็ก)

คุณครูกลอยสะท้อนกิจกรรม
- มีการทักทายทำความรู้จักกัน
- กิจกรรมแปลกใหม่/สร้างสรรค์
- มีการเตรียมตัวดี(อุปกรณ์ ความพร้อม การลำดับกิจกรรม)
- กล่าวคำชื่นชม(empower)
- รู้จักชื่อเด็กๆทุกคน
.............................................................................................



ชื่อกิจกรรม: “เธอกับฉันร่วมกันเติมเต็ม” -โดย ครูแต
อุปกรณ์: ลูกยาง
เป้าหมาย:
- เห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆรอบตัว
- มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- มีความนอบน้อม เคารพต่อตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม
- ครูและนักเรียนทักทายยามเช้า
- ครูแตให้เด็กได้กลับมารู้ตัวอยู่กับตัวเองโดยการหลับตาสัมผัสถึงลมหายใจของตัวเองประมาณ 3 นาที
- สร้างข้อตกลงร่วมกันในระหว่างการทำกิจกรรมว่าในระหว่างที่รับหรือส่งเราจะรับไหว้ด้วยความนอบน้อม และเมื่อได้สิ่งของแล้วจะวางไว้ด้านหน้าของตัวเอง
- ครูแตเริ่มส่งตะกร้าลูกยางไปด้านซ้ายและด้านขวาโดยให้เด็กๆหยิบคนละ 1 กำมือ คนที่ได้แล้วจะวางไว้ด้านหน้าของตัวเอง หลังจากนั้นครูแตให้เด็กๆเรียงลูกยางที่ทุกๆคนได้ไว้ด้านหน้าของตัวเองช่วยกันเติมเต็มให้เป็นวงกลมใหญ่
- ครูแตให้คนแรกเริ่มนับเมล็ดยางที่อยู่ด้านหน้าของตัวเองหลังจากนั้นคนต่อมานับจำนวนลูกยางที่อยู่ด้านหน้าตัวเองต่อจากคนแรก
- ครูแตกระตุ้นด้วยคำถาม “ถ้าวงกลมนี้เป็นโลกของเรา หนึ่งสิ่งพี่อยากจะเติมเต็มให้โลกของเราคืออะไร”

คุณครูฟ้าสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- น้ำเสียงของคุณครู/ การชื่นชม/ ขอบคุณคนที่น่ารัก
- การเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า
- กิจกรรมน่าสนใจเป็นสิ่งใหม่ๆที่เด็กๆไม่เคยทำ
- เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
.............................................................................................

กิจกรรม : กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง -โดย ครูท๊อป
เป้าหมาย - เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักร่างกายและจิตใจมากขึ้นว่าทำงานกันอย่างไร
​- เพื่อให้เด็กมีสมาธิพร้อมที่จะเรียน
​- มีสร้างความคิดสร้างสรรค์
​- อธิบายผลงานของตนเองได้
​- เพื่อส่งเสริมการจินตนาการของเด็ก
กระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. หลังจากที่เคารพธงชาติ ครูพานักเรียนเดินกำกับสติ และพาเก็บใบไม้บริเวณทางเดินไปอาคารมัธยมเมื่อถึงห้องพานั่งเป็นวงกลม
2. ทำสมาธิ 3 นาที โดยให้ทุกคนค่อยๆหลับตาลง หายใจเข้าลึกๆและหายใจออกยาวๆ 5 ครั้ง สังเกตลมหายใจที่ปลายจมูก ข้างที่ชัดเจนมากที่สุด กลับมารู้ลมหานใจของตนเอง รู้ในการพูดและการฟัง
3. ครูแจกกระดาษ A4 ให้ทุกคน โดยวิธีการส่งต่อกันซึ่งก่อนที่จะรับทุกคนจะไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อมจนครบทุกคน
4. ครูอ่านบทความ “กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง”
"อากาศในสวนธรรมเช้านี้ช่างฉ่ำเย็น ด้วยหยาดฝนเม็ดสุดท้ายเพิ่งหยุดไป
วันนี้เป็นวันขี้เกียจของฉัน จึงได้โอกาสมาเดินเล่น
เมื่อก้าวย่างผ่านสะพานแห่งสติเข้าสู่ธรรมศาลา ก็ได้ยินเสียงกวาดใบไม้ทั่วบริเวณ
ฉันจับไม้กวาดแล้วเริ่มกวาด … ร่ายกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
กวาด…กวาด…กวาด
จิตหนีไปคิดก็รู้ ความคิดดับไป จิตเบิกบาน
จิตบางครั้งก็เป็นคนดู บางครั้งก็กลายเป็นคนคิด
บางครั้งความคิดก็ยาวกว่าจะรู้ทัน

เมื่อความคิดทำงาน
ใบไม้บางใบ … กวาดครั้งเดียวก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … เกาะกับพื้นไม้ที่เปียกชุ่ม …กวาดครั้งที่สองก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … ติดแน่น ถึงแม้กวาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าว ก็ไม่ยอมออก
​กิเลสก็เช่นเดียวกัน บางตัวออกง่าย บางตัวออกยาก บางตัวต้องกระทุ้ง บางตัวแค่สะกิด เราจึงต้องมีเครื่องมือหลายชนิดให้เหมาะกับกิเลสแต่ละแบบ และหากเรายังไม่ยอมหยุดเดินและยังคงเป็นผู้ดู กิเลสทั้งหมดต้องหลุดออกไปแน่นอน เฉกเช่นเดียวกับใบไม้บนลานนี้
จิตที่เป็นคนดู… บางครั้งก็เห็นความรู้สึกทางกายบ้าง ทางใจบ้าง
บางครั้งรู้สึกท้อแท้ เมื่อเผลอมองลานไม้อันกว้างใหญ่ที่มีใบไม้น้อยใหญ่ปกคลุม
เมื่อจิตมีความอยากให้เสร็จเร็ว พอตาเห็นลานกว้างเต็มไปด้วยใบไม้ จิตคิดว่าลานกว้างเหลือเกิน จะเสร็จไหม? จึงเกิดความรู้สึกท้อแท้ เมื่อจิตมีความอยาก แล้วไม่ได้อย่างที่อยาก ...จิตก็ทุกข์
บางครั้งรู้สึกหงุดหงิดใจ เมื่อแขนชักจะเริ่มเมื่อย
เมื่อทุกขเวทนาทางกายแทรกตัวเข้ามาในแขนตอนกำลังกวาด เกิดความรู้สึกหงุดหงิด…เป็นทุกข์ทางใจ
บางครั้งรู้สึกปลื้ม ที่ได้เห็นลานกว้างโล่งปราศจากใบไม้
เมื่อตาเห็นลานโล่ง ความคิดปรุงว่าได้ทำเสร็จแล้วและเป็นประโยชน์ เกิดความรู้สึกแช่มชื่นในจิต…เป็นกุศล
​กุศล อกุศล เวียนกันเกิด ผลัดกันดับ
ร่างกายถูกรู้ กับจิตใจที่เป็นคนดู เขาอยู่คนละส่วนกัน
เพียงแค่กวาดใบไม้หนึ่งชั่วโมง
ฉันได้รู้จักร่างกายและจิตใจมากขึ้นว่าเขาทำงานกันอย่างไร
เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
.. นี่คงเป็นความหมายของคำว่า “กายเคลื่อนไหว ใจตั้งมั่น”
ที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆในเสถียรธรรมสถาน
สวัสดีครับคุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาทุกท่าน"
5. ครูกระตุ้นด้วยถาม จากที่นักเรียนได้ฟังบทความข้างต้นนี้นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรและการที่เราเก็บใบไม้และฟังบทความที่ครูอ่านมีความแตกต่างกันอย่างไรโดยการเขียนหรือวาดภาพสื่อความรู้สึกลงในกระดาษที่แจก
6. ให้นักเรียนอ่านสิ่งที่ตนเองเขียนให้เพื่อนในห้องฟังจนครับทุกคน
7. ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า จากกิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้บ้างโดยให้นักเรียนบอกทีละคนจนครับทุกคน
8. ให้นักเรียนมาอยู่กับตัวเองมาอยู่กับลมหายใจของตัวพร้อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป

สะท้อนกิจกรรม
_ครูท๊อบเตรียมตัวก่อนทำกิจกรรมได้ดี มีการวางแผน เข้ามาพูดคุยกันล่วงหน้า
_กิจกรรมเหมาะกับเด็กมัธยม
_เวลาเหมาะสม และสร้างบรรยากาศด้วยการEmpower ตลอดเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์
.............................................................................................

กิจกรรมจิตศึกษาดัดลวด ขมวดคิด” -โดย ครูณัฐ
เป้าหมาย
-มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-เห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
-บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก และเพื่อให้เกิดความพยายาม
กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียน
-กำกับสติโดยการ Brain Gym 2 กระบวนท่า
-นักเรียนนั่งหลับตา 2 นาที เพื่อให้มีสติอยู่กับตัวเองและนึกถึงสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
-ครูนำอุปกรณ์(ลวด)มาวางไว้ด้านหน้า แล้วถามคำถามกับนักเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น สามารถนำมาทำเป็นอะไรได้บ้าง
-ครูแจกอุปกรณ์กับนักเรียนโดยการส่งไปเรื่อยๆทีละคนด้วยความนอบน้อม
-นักเรียนนำลวดที่แจกให้ มาดัดเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
-เมื่อดัดลวดออกมาเป็นรูปร่างที่ต้องการแล้ว ครูให้นักเรียนเล่าถึงสิ่งที่ทำออกมาว่ามีความเกี่ยวข้องและสำคัญกับตัวเองยังไงบ้าง
-ครูสรุป แทรกข้อคิดและถามคำถาม”นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้”

ครูแป้งสะท้อนกิจกรรม
-มีเป้าหมายที่ชัดเจน
-เป็นกิจกรรมใหม่ที่นำมาใช้และน่าสนใจ
-การใช้เส้นลวดที่ใหญ่ทำให้เด็กได้คิดวิธีแก้ปัญหาได้มากขึ้น
-เด็กสามารถจดจ่อกับสิ่งที่ครูพาทำได้ดี และให้ความร่วมมืออยู่กับกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
-มีการชื่นชมและให้กำลังใจได้ดี
-เด็กสามารถเชื่อมเชื่อมโยงกับสิ่งที่ทำได้ดีมาก

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พี่พบน้องครั้งที่หก.. ลปรร. รูปแบบแผนPBL?

            กิจกรรมพี่พบน้องครั้งนี้ พี่ๆ กลุ่ม 2 ได้แก่ ครูแดง ครูน้ำผึ้ง และครูสังข์ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2558 ณ ห้องประชุมเล็ก
15.30 น. ตามเวลานัดหมาย (ขาดคุณครูต้น ครูนัท ครูท๊อป ครูต้อม เนื่องจากติดภารกิจที่จังหวัดน่าน ครูบาสอยู่ระหว่างเดินทางกลับจากพิธีพระราชทานปริญญาบัตร)

ครูสังข์ เริ่มต้นโดยการให้ทุกคนนั่งล้อมเป็นวงกลม นำการประชุมด้วยสมาธิ เราจะทำสมาธิกันสัก 3 นาที ก่อนเริ่มการประชุม ขอให้ทุกคนหลับตา เริ่มต้นด้วยการรู้ลมหายใจ เข้าออกยาวสัก 5 ลมหายใจ สังเกตสัมผัสลมหายใจที่ปลายจมูกข้างที่รู้สึกว่าชัดกว่า ดูไปให้ต่อเนื่องด้วยลมหายใจปกติ (3 นาที)ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมจะมีเสียงระฆังช่วยเตือนให้กลับมารู้ลมหายใจ รู้ในการพูดและฟัง เพื่อให้เป็นการสนทนาและอภิปรายอย่างสร้างสรรค์
    ครูน้ำผึ้งพาทุกคนทำกิจกรรม ฝึกตั้งคำถาม โดยมีกล่องสำหรับใส่โจทย์และชื่อผู้ที่จะถูกถาม เช่น หมอน ครูนิ่ม ซึ่งเมื่อทุกคนได้โจทย์ครบแล้วก็เวียนตั้งคำถามทีละคนจนครบ
    จากนั้นครูน้ำผึ้งและครูแดงได้นำรูปแบบการเขียนแผน PBL มาสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกชั้นมีแนวทางในการเขียนแผนเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน โดยร่วมกันดูตารางการจัดกิจกรรมทีละส่วนไปพร้อมๆกัน
กิจกรรมต่อมาแบ่งครูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. ครูอนุบาล และ ป.1 ครูแดงช่วยแนะนำกิจกรรมเพิ่มเติม
2. ครู ป.2 และ ป.3 ครูน้ำผึ้งช่วยแนะนำกิจกรรมเพิ่มเติม
3. ครู ป.5 ครูสังข์ช่วยแนะนำกิจกรรมเพิ่มเติม
4. ครูภาษาอังกฤษ ครูแต ครูเมเดีย ครูจุล แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ และแนะนำกิจกรรมเพิ่มเติมให้กัน
(คุณครูเสกและคุณครูนาจร่วมสังเกตการแลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มและนำสิ่งที่เข้าใจมาแลกเปลี่ยนในช่วงท้ายร่วมกัน)
 ช่วงท้ายกิจกรรม ทุกคนได้แชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ก่อนปิดการประชุมครูพี่รุ่น 2 ได้กล่าวให้กำลังใจน้องๆ และทบทวนเป้าหมายที่ทำกิจกรรมนี้ คือเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างพี่น้อง และเพื่อลดภาระงานให้น้องๆทุกคน รวมทั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองทั้งน้องๆและพี่ๆ
สุดท้ายพี่ๆรุ่น 2 นัดน้องๆส่งแผนที่แก้แล้วในเช้าวันจันทร์ ก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ
 ครูแดง ครูน้ำผึ้ง ครูสังข์ (พี่กลุ่ม2 ดำเนินกิจกรรม)

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(2) -ครูแต, ครูต้น, ครูอุ๋ม, ครูนิ่ม

ชื่อกิจกรรม ร้อยมาลัยใบแก้ว” -โดย ครูแต

เป้าหมาย 
- มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ
- ใจเย็นมีความอดทนและรู้จักรอคอย
- ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
กิจกรรม - ทักทาย พูดคุยกันตอนเช้า
- Brain gym 2 ท่า ขนมจีบ-ถาดรูปตัวแอล, ซาลาเปา-ถาดรอง
- ครูเดียเริ่มต้นด้วยการถามพี่ๆ ป.2 ว่า พี่ๆมองเห็นอะไรบ้างที่วางอยู่ข้างหน้าของครูเดีย, สามารถทำอะไรได้บ้าง-ทำอะไรไม่ได้บ้าง
- ครูและเด็กๆ สร้างข้อตกลงร่วมกันว่าจะส่งเข็มร้อยมาลัยและใบแก้วด้วยความตั้งใจ จะวางเข็มร้อยมาลัยไว้ข้างหน้าของใครของเรา พยายามไม่ให้เข็มโดนเพื่อนของเรา
- ครูเริ่มส่งเข็มร้อยมาลัยและตะกร้าใบแก้ว จากนั้นพี่ๆ ป.2 ก็ลงมือร้อยมาลัยด้วยความใจ
สื่อ - เข็มร้อยมาลัย
- ใบแก้ว

ครูกอยร่วมสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
1. ครูเตรียมอุปกรณ์พร้อม
2. เลือกกิจกรรมได้เหมาะสมกับวัย
3. มีการพูดเสริมแรงอยู่ตลอดเวลาระหว่างที่ทำกิจกรรม
4. การใช้น้ำเสียงและท่าทางเหมาะสม
5. มีการตั้งคำถาม เช่น ทำอะไรได้บ้าง-ทำอะไรไม่ได้บ้าง
.........................................................................................................

ชื่อกิจกรรม "กล่องมหัศจรรย์ล่วงความลับ -โดย ครูต้น
เป้าหมาย - ให้มีสติ พร้อมที่เรียนรู้ในรายวิชาต่อไป
- ให้มีการเชื่อมโยง
กิจกรรม
- คุณครูเล่าถึงบรรยายกาศในตอนเช้า เป็นบรรยายกาศที่เย็นสบาย ให้พี่ๆสูดลมหายใจเข้าออก 5 ครั้ง เพื่อพี่ปอดที่แข็งแรง จากนั้นคุณครูก็ให้พี่ๆได้หลับตาประมาณ 15 วินาที เพื่อใคร่ครวญสิ่งต่างๆที่พี่ได้ทำมาในช่วงเช้า
-จากนั้นคุณครูให้พี่ๆ ได้ทำตามคุณครูโดยการนับไปทีละสเต็ป จำนวน 16 ครั้ง และจากนั้นครูก็ร้องเพลงแล้วให้พี่ทำท่าประกอบเพลงเรียกว่า 16 ท่ารักงอมแงม
- จากนั้นครูก็หยิบกล่องและอุปกรณ์ต่างๆในการทำจิตศึกษา จากนั้นครูอธิบายให้พี่ๆ เลือกหยิบของในกล่องคนละ 1 ชิ้น โดยกล่องจะถึงในแต่ละคนจะทำการเวียนไปทีละคน และอีกฝั่งจะเป็นการส่งปากกาสีและกระดาษ แจกกันอย่างละ 1 ชิ้น เมื่อพี่ๆหยิบอุปกรณ์แล้วให้วางไว้ที่ด้านหน้าของตัวเอง
- จากนั้นคุณครูก็ให้พี่ได้ถ่ายทอดเรื่องราว บอกความรู้สึกว่าเมื่อพี่เลือกสิ่งนั้นแล้ว นึกถึงอะไร รู้สึกอย่างไร โดยการให้พี่ได้เขียนเล่าเรื่องราวลงบนกระดาษ
- เมื่อพี่ๆทุกคนถ่ายทอดเรื่องราวเสร็จแล้วครูให้พี่ได้เล่าเรื่องราวของตนเองจากที่เขียนลงบนกระดาษโดยเล่าไปทีละคน

ครูสังข์สะท้อนการจัดกิจกรรมดังนี้ครับ
- ครูมีการเตรียมพร้อม เตรียมอุปกรณ์มาดี
- ตัวอุปกรณ์และสื่อมีความหลากหลาย มีมิติทำได้ดี
- ในการทำกิจกรรมครูมีการสอดแทรดให้พี่ๆให้หายใจเข้า-หายใจออกและหลับตาเพื่อกำกับสติ
- ในการเก็บเด็กถือว่าทำได้ดีมีการทำท่าประกอบจังหวะเด็กให้ความสนใจ
.........................................................................................................

ชื่อกิจกรรม: แปลงร่างแท่งโฟม -โดย ครูอุ๋ม
เป้าหมาย
- มีสมาธิจดจอกับสิ่งที่ทำ
- ฝึกกล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
- มีความรัก ความเมตตา เคารพ นอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
-เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม
Body scan (เรื่องเล่าปลาดาวบนหาดทรายสีขาว)
Brian Gym กำกับสติ 3 ท่า สุนัขจิ้งจอกกับงูใหญ่ ขนมจีบกับตัวแอล นับจำนวนเพิ่มที่ละ 1
-ครูอุ๋มมีสิ่งของวิเศษมาเจอกับคนที่น่ารัก ครูอุ๋มหยิบอุปกรณ์ขึ้นมาแล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิดน้องอนุบาล เห็นอะไรบ้าง คล้ายกับอะไรและสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
-ครูอุ๋มส่งอุปกรณ์ระหว่าที่ส่งอุปกรณ์ครุอุ๋มจะชื่นชมเสริมแรง และก่อนที่จะรับสิ่งของจากเพื่อน เราจะมีพี่มือที่แข็งแรงรับไหว้เพื่อนของเราอย่างนอบน้อม


-ครูอุ๋มให้น้องอนุบาลแปลงร่างแท่งโฟมโดยที่ ครูอุ๋มเรียกชื่อ แท่งโฟมในการทำกิจกกรมกับน้องอนุบาลว่า เฟรนฟรายโดยที่ครูอุ๋มจะมีแท่งเฟรนฟรายให้คนละ 10 แท่ง ครูอุ๋มให้น้องอนุบาลแปลงร่างเฟรนฟรายเป็นพี่ใส้กรอก
-หลังจากที่แปลงร่างเสร็จ ครูอุ๋มพาน้องอนุบาลนับจำนวนที่แปลงร่างว่ามีจำนวนเท่าไร
อุปกรณ์ :แท่งโฟม

ครูแดงร่วมสะท้อนกิจกรรมค่ะ
-มีการเตรียมตัวเตรียมสื่ออุปกรณ์ในการทำกิจกรรรม
-เรื่องเล่า Body scan
-น้ำเสียง
-มีคำถามกระตุ้นการคิดให้กับเด็ก
-ให้เด็กได้นับจำนวน
.........................................................................................................

กิจกรรม จิตศึกษา (โยคะ) -โดย ครูนิ่ม
เป้าหมาย:
- เห็นความสัมพันธ์ความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ
- มีสมาธิจดจ่อ
- มีความอดทนทั้งกายและใจ
- เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม:
- การทักทายสวัสดี
-การกำกับสติ / Brain Gym
- นิทานเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม
- การทำโยคะเริ่มจากท่ายืน (ท่าไหว้พระอาทิตย์ ท่าภูเขา ท่าเก้าอี้ ท่าเครื่องบิน ) , ท่านั่ง (ท่าผีเสื้อ ท่าเต่า ) ,ท่านอน (ท่าจระเข้ ท่างูใหญ่ ท่าคันธนู ท่าตั๊กแตน ท่าปลาดาว
- ขอบคุณคุณครูหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ

ครูเจษร่วมสะท้อนกิจกรรมค่ะ
- มีการเตรียมตัว
- นิทานเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม

กีฬาสัมพันธ์ครั้งที่ 3

หลังจากกีฬาสัมพันธ์ครั้งที่ 2 ผ่านมาเกือบ 3 สัปดาห์
รอบนี้น้องครูกลุ่ม 1 -ครูอนุบาลเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม
 กีฬาจัดขึ้นอย่างสนุกสนาน
ช่วงเย็นรับประทานอาหารเย็นร่วมกันที่บ้านครูใหญ่