วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปรนนิบัติ_โรงเรียนฯ

       ในช่วงก่อนเปิดเรียนไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่คุณครูทุกคนช่วยกันปรับภูมิทัศน์ทาสีตามถนนและบริเวณที่เป็นแหล่งเรียนรู้ต่างๆของนักเรียนมาแล้ว คุณครูแต่ละชั้นก็ขะมักเขม้นกับภาระงานในชั้นเรียนของตัวเอง เช้าวันที่ 7-9 พ.ค. 58 ที่ผ่านมากลุ่มคุณครูผู้ช่ายช่วยกันปรับบ่อเลี้ยงปลาหลังบ้าน ม.2 และช่วยกันเติมน้ำ ปลูหญ้ารอบๆ บ่อปลา
และบริเวณแปลงผักครูผู้ชายทุกคนช่วยกันฉาบปูนโดยรอบแปลงผักทั้ง 4 แปลง

 บางวันฝนตกหนักมาก
ภาระกิจบางอย่างที่ตระเตรียมกันไว้ ได้เลื่อนออกไปอย่างตั้งตัวไม่ทัน
<<ในภาพนี้..พายุเข้าอย่างแรงที่บ้านมัธยม ทำให้ปูนที่เราเตรียมไว้ใช้ไม่ได้ทั้งหมดและต้นไม้หลายต้นพังทะลาย เศษกระดาษ ไม้ กระดาน ต่างล้มเกลื้อนระเนระนาดเต็มไปหมด

_คุณครูอีกหลายๆคนก็ต่างแยกย้ายไปช่วยพนักงานของโรงเรียนฯ ที่แบ่งโซนกันทำหน้าที่ในช่วงวันหยุดเรียนของเด็กๆ
อนุบาล
มัธยม

 ครูผู้ชายอีกกลุ่ม(ย่อย) ก็ช่วยดูแลห้องดนตรี
ดูแลบริเวณด้านบนหลังคาอาคารประถม / อนุบาล เศษใบไม้ที่จะมาติดรางน้ำช่วงฤดูฝน

*ขอบคุณทุกๆความร่วมมือที่คุณครูทุกท่านช่วยดูแลปรนนิบัติอาคารสถานที่ต่างๆ บริเวณโดยรอบของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. 

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประชุมกลุ่ม 2 ครั้งที่ 4/58

       ในช่วงบ่ายโมงของวันที่ 7 พ.ค. 58 ครูกลุ่ม 2 พูดคุยเกี่ยวกับโจทย์ที่ได้รับฝากมาจากการชุมใหญ่ของครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โดยคุณครูกลอยเป็นผู้บันทึกการประชุมในครั้งนี้ สรุปการประชุมดังนี้ครับ

ประเด็ด / เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน
การใช้อุปกรณ์ห้องครัว และห้องสำนักงานครัว
1. จะทำอย่างไรอุปกรณ์ถึงจะไม่สูญหาย และใช้งานได้อย่างคุ้มค่า?
- จัดอุปกรณ์ครัวให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความเป็นระเบียบ สะดวก และตรวจสอบได้ง่าย
- ครูฟ้าวางแผนดูแล ตรวจเช็คอุปกรณ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ทุกครั้งที่มีการยืมอุปกรณ์ออกนอกสถานที่ เช่น เวลาผู้ปกครองมาทำกิจกรรมให้ครูที่รับผิดชอบเรื่องนั้นๆ เป็นคนมายืม – คืน พร้อมลงบันทึกการยืม – คืน
- กรณีห้องใดไปใช้แล้วของชำรุดให้แจ้งครูฟ้าทันที
- ปิดล็อคห้องครัวทุกวันตอนเย็น
2. จะทำอย่างไรจึงจะใช้ห้องครัวร่วมกับแม่บ้านได้ โดยแม่บ้านมีส่วนในการรับผิดชอบ?
- สร้างข้อตกลงในการใช้ร่วมกันทั้งครู นักเรียน และพนักงาน
- กรณีของสูญหายแม่บ้านมีส่วนรับผิดชอบร่วม

ห้องสำนักงานครู ห้องสำนักงานครูจัดทำเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับครูวางแผนงาน ประชุม ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครอง รวบรวมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนบางกลุ่มอีกด้วย ดังนั้น
- ห้องสำนักงานครูสามารถให้ได้ทุกคน
- อุปกรณ์สื่อต่างๆ ครูทุกคนใช้ร่วมกัน และใช้แล้วเก็บเข้าที่เดิม
- ช่วยกันดูแลความสะอาด

3. เครื่องเคลือบกระดาษ
- ถ้าต้นฉบับเป็น A3 ให้ย่อเป็น A4 ถ้าจำเป็นต้องให้ A3 พิจารณาตามความเหมาะสม
- ตระหนังถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากชิ้นงานนี้ก่อนเคลือบทุกครั้ง (เท่าที่จำเป็น)
4. การสื่อสารผ่าน Line กลุ่ม
- กรณีแจ้งเพื่อทราบ/ หาข้อตกลงร่วมกันให้แสดงตนหรือรับทราบทุกครั้ง
- รายงานความคืบหน้าของงานผ่านช่องทางนี้ได้

แจ้ง /ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. พัฒนาน้องใหม่
1.1 นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และครูอ้อย
- สัปดาห์ที่ 1 – 2 สังเกตการสอนของครูพี่ พร้อมสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้พี่ทราบทุกวัน
- สัปดาห์ที่ 3 เริ่มกิจกรรมจิตศึกษา และ Body scan สัปดาห์ละ 1 วัน พร้อมสะท้อนตนเองสิ่งที่ทำได้ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
- สัปดาห์ที่ 4 เป็นต้นไปสอนจริงโดยมีพี่คู่ชั้นร่วมวางแผนจัดกิจกรรม
1.2 น้องๆ กลุ่ม 1
- เวียนจิตศึกษาแบ่งเป็นสายชั้น อนุบาล ประถม และมัธยม (เวียนในสายชั้นที่สอนเพื่อง่ายต่อการจัดการเวลาสำหรับคนคาบแรก)
- มีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานอื่นๆ เช่น งานอนามัย ศานติ ดูแลห้องครัว เป็นต้น
2. ประเด็นที่จะปฐมนิเทศผู้ปกครอง (แยกตามห้องเรียน)
- แจ้งสิ่งที่จะเกิดขึ้นของปีการศึกษานี้
- ระเบียบ แนวทางปฏิบัติของโรงเรียน
- อื่นๆ

เรื่องอื่นๆ
- ครูใหญ่ตั้งคำถาม ต้นทุนของเด็กแต่ละคนครูจะรู้ได้อย่างไรแล้วครูจะสนใจในสิ่งที่เขาอย่างรู้ อย่างไร? (ครูแต่ละห้องวางแผนร่วมกันเพื่อนำเสนอที่ห้องประชุมวันที่ 12)
- ครูต๋อยเสนอแนะ จะดีไหมว่าเรามีกิจกรรมห่อข้าวมารับประทานร่วมกับเพื่อนครูด้วยกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจซึ่งกันและกัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประชุมคุณครูผู้ชาย ครั้ง1

      ช่วงเช้าวันพุธที่ 6 พ.ค. 58 ที่ผ่านมาได้ประชุมกลุ่มคุณครูชายทั้งได้แก่ ครูสังข์ ครูป้อม ครูเส็ง ครูต๊อก ครูจุล และครูบาส
คุยแบ่งงานที่แต่ละคนได้รับมอบหมายจากการพูดคุยกันก่อนหน้านั้นกับครูอ้อนที่ใต้ถุน ม.1
     งานแต่ละคนรับผิดชอบในปีการศึกษา 2558
- ครูจุล : ดูแลรับผิดชอบเรื่องการเลี้ยงไก่ ปรับเปลี่ยนวิธีเลี้ยงแบบธรรมชาติ 100%
- ครูสังข์ : ดูแลรับผิดชอบการพัฒนาเรื่องการปลูกข้าวโดยรอบแปลงนาภายในโรงเรียนฯ พัฒนาเรื่องการทำปุ๋ยหมักและการปลูกพืชบำรุงดิน
- ครูเส็ง : ดูแลรับผิดชอบการปลูกผักเลี้ยงปลา ปลูกผักแบบธรรมชาติและเป็นพืชผักหมุนเวียน เกื้อหนุนกันและกัน
- ครูป้อม : ดูแลรับผิดชอบเรื่องการปลูกข้าวสินเหล็กในท่อ และแปลงนาปลูกข้าว 1 ต้น
- ครูบาส : ดูแลรับผิดชอบการเลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงกบ บริเวณหลังโรงจอดรถ

*ทุกๆหน้างานได้ประสานพูดคุยให้ครูต๊อกช่วยในด้านต่างๆ และทุกงานได้ทำเป็นแผนงานระยะยาว 1 ปีไว้พร้อม
ในการขออาสาคุณครูท่านอื่นได้ช่วยกัน จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ปล. ห้องดนตรีครูป้อมกับครูบาส รับผิดชอบดูแล ส่วนข้อตกตงการใช้ห้องดนตรีจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ
.............................................
หลังจากพูดคุยประเด็นเสร็จ ครูบาสรับหน้าที่บันทึกการประชุม(ละเอียด) ดังนี้ครับ

ครูจุล ; ไก่ Organic
มีการสร้างแรง
 - ให้มีความรับผิดชอบ 
 - ให้มีความสนใจที่อยากจะเลี้ยง
พัฒนาวิธรการเลี้ยง;
 - ลดหัวอาหาร 
 - ศึกษาข้อมูลวิธีการเลี้ยงเพิ่มเติม

อยากให้ช่วย; ใครมีข้อเสนอแนะข้อแนะนำเพิ่มเติมก็อยากให้มาช่วยกัน สามารถแสดงความคิดเห็นและนำไปพัฒนาเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะ ; - ถ้าหากเลี้ยงแบบการปล่อย (เหมือนที่ผ่านมาที่ไก่ออกมานอกกรงเอง) การทำความสะอาดบริเวณอาคารเรียนค่อยข้างลำบาก/เสียเวลา
- รบกวนผู้ใหญ่ใจดีที่มาศึกษาดูงาน
- รบการกิจกรรมการเรียนการสอนในบางข่วง
- อาจจะไม่ปล่อย แต่เราก็ต้องหาพืชให้กินแทน
- ในช่วงแรกไก่ยังไม่พร้อมไข่ เอามาเลี้ยงหลายเดือน ปัญหาคือเราต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้น - ถ้าเราไม่ใช้หัวอาหารที่ซื้อตามท้องตลาด ปริมาณไข่ที่ได้ก็จะลดลงครึ่งต่อครึ่งจากเดิม - ขยายคอกให้กว้างขึ้นกว่าเดิม - ถ้าปล่อย การไข่ของไก่ก็จะวางไข่ไม่เป็นที่เป็นทาง ตามหาลำบาก - และถ้าเราไม่ทำหลังคา ไก่มันสามารถบินออกจากคอกได้ (ก็พยายามหาทางแก้ไขมาโดยตลอด)

ครูสังข์ ; แปลงนานอกกะลา
- ปรับพื้นที่ให้เท่ากัน
- ปรับคันนาให้ได้ที่
- อินทรียวัตถุลงในแปลงนา
- ทำปุ๋ยหมักชีวภาพด้วยวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในโรงเรียน
- คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่นา
- เพาะเมล็ดพันธุ์
- อาจจะทำทั้งนาโยน นาดำ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ไม่ได้จำกัดในชั้นใดชั้นหนึ่งในการรับผิดชอบ แต่ให้นักเรียนทุกชั้นได้มีส่วนร่วม
- ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการดำเนินการ


ครูเส็ง ; เศรษฐกิจ ม.2 เศรษฐกิจพอใจ
- บ่อเลี้ยงลาดุก ซื้อพันธุ์ปลา เตรียมน้ำ (หยอด EM ) การเปลี่ยนน้ำจะทำทุก3-4 เดือน การเตรียมอาหาร (แหล่งอาหารที่พึ่งพิงธรรมชาติ เช่น ปลวก)
- แปลงผัก เตรียมดิน ปลูกผักที่ครัวของโรงเรียนต้องการใช้ประกอบอาหารด้วย พืชระยะยาว (พริก มะเขือ โหระพา) ปลูกผักตามฤดูกาล/ตามสภาพอาการ
อยากให้ช่วยอะไรบ้าง ; - ให้เด็กๆและผู้ปกครองช่วยเตรียมหาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน
- การดูแลในวัน/เวลาที่นักเรียนไม่อยู่ ทั้งครูและคนงานช่วยกัน
ข้อเสนอแนะ ; - รั้ว ปลูกผักเถาหรือเลื่อนน่าจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
- ปลูกดอกไม้ที่มีกลิ่นฉุน (ดาวเรือง ดาวกระจาย) แซมด้วย จะได้ช่วยแมลง
- ปลูกผักคอนโด ใช้ไม้ผ่าที่มีอยู่ผ่าครึ่ง ว่างเป็นชั้นๆ แล้วเอาผักปลูก

ครูป้อม ; ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด
- เตรียมท่อ/เตรียมดิน
- ย้ายท่อไปไว้แนวเดินหน้าม.3
- คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ (ครูต๊อกจัดหา)
- นักเรียนออกแบบการเตรียม/กระบวนการดำเนินงาน
ปัญหา : ปีที่แล้ว พอข้าวออกรวงนกก็มากินจนหมด
*ฝากครูต๊อกทำ Story ข้าว ขนาดใหญ่กว่า A3 ป้ายไวนิล ครูป้อมจะเตรียมข้อมูลไว้ให้

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประชุมกลุ่ม 2 ครั้งที่ 3/58

       ช่วงเช้าของวันอังคารที่ 5 พ.ค. 58 พวกเรานัดประชุมพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ครูใหญ่ฝากไว้ หลังวันประชุมใหญ่ของคุณครูโรงเรียลำปลายมาศพัฒนาก่อนหน้านี้.

ณ ห้องสำนักงานครู(ประถม)

_หลังจากที่พวกเราช่วยกันคิด และคุณครูน้ำผึ้งรับหน้าที่สรุปการประชุมในครั้งนี้

แต่ละคนช่วยกันปรับแล้วปรับอีก

  คุณครูน้ำผึ้งเขียนสรุปออกมาในรูปแบบตาราง
เพื่อให้มองเห็นภาพรวมแต่ละส่วนงานได้ง่าย ดังนี้ครับ


* บางส่วนอาจได้ปรับแก้หรือเพิ่มเติมกันครับ

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปรับภูมิทัศน์/เข้าร่วมอบรมPBL ก่อนเปิดเรียนปีการศึกษา 58

ทุกวันคือการเรียนรู้
สีสันวันปิดเรียน...

      ขอบคุณคุณครูใจดีทุกท่านนะครับที่ช่วยกันปรับภูมิทัศน์ ระบายสีเตรียมความพร้อมรอเด็กๆ... (รวมทั้งหอมนิลที่ช่วยสร้างสีสรรค์รอยยิ้มและความเฮฮา)


ใกล้เปิดเรียนแล้วนะครับ เด็กๆจะคิดถึงโรงเรียนกันไหมน๊า...^____^...

ภาพถ่าย -บรรยากาศปรับภูมิทัศน์1

_ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีการอบรมให้กับคณะครูจากโรงเรียนบ้านตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ


โดยครูยิ้มเป็นคนแบ่งบทบาทหน้าที่ให้กับคณะครูทุกคนในโรงเรียนฯ เข้าไปช่วงงานอบรมตลอด 8 วัน

“ผมเหลืออายุราชการอีก 7 ปี และผมก็เป็นคนภูสิงห์ ผมอยากเห็นคนบ้านของตัวเองพัฒนา มีวิธีคิดที่เชื่อมโยง เป็นส่วนหนึ่งกับสังคมโลก รู้เท่าทันปัญหา ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต ผมไม่กลัวที่คนอื่นจะไม่เข้าใจ ผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน เงินเดือนไม่ขึ้น ผมมีเพียงพอแล้ว แต่ผมอยากให้เด็กได้รับประโยชน์ที่แท้จริง”

ผอ. อำนวย มีศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
โครงการงอกนอกกะลา

_จากงานอบรมวันที่ 30 เม.ษ.
ครูยิ้นรายงานความคืบหน้าของการอบรมในครั้งนี้ให้กับคุณครูทุกคนรับทราบ ดังนี้ครับ
จากที่เริ่มทำกระบวนการ PBL เมื่อวานตอนบ่าย
คุณครูทุกคนตั้งใจ ดีมาก
วันนี้ได้
- ชื่อหน่วย  - เป้าหมาย
- คำถาม
- ภูมิหลัง (ได้พยายามปรับตามที่ครูใหญ่เสนอแนะเมื่อวาน ตอนที่นำเสนอช่วงเย็น)
- Mind Mapping (เสร็จ ครบ สวยงาม พร้อมใช้จริง)
- web เชื่อมโยง 8 สาระ (เสร็จเรียบร้อย)
- ตารางเวิเคราะห์ (บางชั้น มอบหมายจัดพิมพ์เป็นการบ้าน)
- ปฏิทิน ส่วนมากได้ 3 สัปดาห์ (มอบหมายเป็นการบ้านจัดพิมพ์ให้เรียบร้อยภายในพรุ่งนี้เพื่อ อัพเดต ลงบล็อค)
- แผนรายสัปดาห์ ทำต่อพรุ่งนี้คะ

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

BLOG รายงานประชุม โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

       คุณครูต๊อกได้จัดทำบล๊อกรวมรายงานการประชุมของครูทุกครั้ง


คลิก >>> : Meeting - รายงานประชุม โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ประชุมกลุ่ม 2 ครั้งที่ 2/58

สรุป AAR  การประชุมคณะครูกลุ่ม 2 ในวันที่ 30 เมษายน  2558

      - เพื่อให้การทำงานมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น   คุณครู กลุ่ม 2 จึงมีวิถีปฏิบัติร่วมกันดังนี้  1. กำหนดเวลา และผู้รับผิดชอบในการทำงานอย่างชัดเจน  (รายละเอียดดังในตาราง)
   2.  มีการรายงานผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง  (ระหว่างดำเนินการ  และหลังการดำเนินการ รวมถึงสาเหตุที่ยังไม่สำเร็จ)
      3. การประชุมร่วมกัน
           วิถีการประชุม
-          ระดับชั้นอนุบาล   (ทุกวันอังคาร ของแต่ละสัปดาห์)
-          ระดับชั้นประถมศึกษา  (ทุกวันพฤหัสบดี ของแต่ละสัปดาห์)
-          ระดับมัธยมศึกษา  (ทุกวันพุธ ของแต่ละสัปดาห์ )
-          ประชุมรวมกลุ่ม 2   ทุกวันศุกร์  ของสัปดาห์ที่  และ 4  ของเดือน  (เดือนละ 2 ครั้ง  ยืดหยุ่นได้ความเหมาะสม)
-          ประชุมรวมทั้งโรงเรียน  เดือนละ 1  ครั้ง (ช่วงต้นเดือน)
      4. การตอบรับเมลล์
      5. การติดตามแผนการเรียนการสอน  (ดำเนินการโดยครูคู่พัฒนา)

ความคืบหน้าของงาน
อนุบาล  -  อยู่ในช่วงการทำร่องน้ำและ สนามเด็กเล่น
ประถม  -  จัดห้องสำนักงานครูและห้องครัว
มัธยม -  อยู่ในช่วงการปรับภูมิทัศน์

ประเด็นที่จะร่วมพูดคุยกับน้องๆ  ในการประชุมครั้งต่อไป (พ.ค. 2558)
-          วิถีปฏิบัติของคุณครู 
-          การตอบรับเมลล์
-          ครูเวร
-          พิธีนม
-          การใช้ห้องครัว
-          ช่วงเวลาในการรับประทานอาหารของนักเรียน
-          ฯลฯ
 บันทึกโดย ครูน้ำผึ้ง

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ประชุมกลุ่ม 2 ครั้งที่ 1/58

สรุปการประชุมปีการศึกษา 2558 ครั้งที่ 1 วันที่ 18 เมษายน 2558
เริ่มประชุม เวลา 14:00 น.
ประเด็น
1. สะท้อนสิ่งที่ทำในปีการศึกษา 2557 (กิจกรรมพัฒนาครูใหม่, กิจกรรมคู่พัฒนา)
2. สิ่งที่จะทำต่อและงานใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ
สะท้อน กิจกรรมพัฒนาครูใหม่
ครูน้ำผึ้ง : น้องๆมีการพัฒนาตนเองมาขึ้นจากเดิม ในเรื่องวัฒนธรรมขององค์กร
              : มีความกระตือรือร้น และแบ่งเวลาได้ดีขึ้น
สิ่งที่อยากพัฒนาน้องต่อ : เรียนรู้ในหน้างานใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ครูเจษ : มีความสัมพันธ์กับพี่มากขึ้น ทำให้เรามองเห็นตนเองและมองเห็นน้องในด้านที่ต้องพัฒนา
สิ่งที่อยากพัฒนาน้องต่อ : เรื่องการออกแบบกิจกรรมการสอนและหน้างานอื่นๆที่ทำให้เห็นองค์กรมากขึ้น
ครูสังข์ : เห็นความกระตือรือร้นของน้องๆ ทุกครั้งที่ทำอะไรเหมือนเป็นการทบทวนตนเองอีกครั้ง
สิ่งที่อยากพัฒนาน้องต่อ : ต่อยอดงานเก่าที่ทำ คือ จิตศึกษา PBL การสอน ฯลฯ(จะร่วมกันออกแบบอีกครั้งหนึ่ง)
ครูเส็ง : ได้ทบทวนตนเองเพื่อพัฒนาน้อง 
           : ลดช่องว่างตัวเรากับน้องๆ
          : น้องๆ พัฒนาตนเองเร็วขึ้น
สิ่งที่อยากพัฒนาน้องต่อ : ให้น้องได้เป็นแม่งานเองในบางเรื่อง
ครูกลอย : ด้านจิตศึกษา (น้องมีการเตรียมตัวขึ้น มีความคล่องตัว พัฒนาเร็ว)
               : ด้านการเรียนการสอน
              - จากที่เคยให้ตัวความรู้ (สอน) เปลี่ยนเป็น (ให้การเรียนรู้มากขึ้น) 
            - เวลาทำให้พัฒนามากขึ้น
            - สะท้อน และพัฒนาร่วมกันเสมอ
- การให้ Empower จากพี่คู่พัฒนาหรือพี่คู่ชั้น
- เปิดเวทีให้
สิ่งที่อยากพัฒนาน้องต่อ : น้องฝึกสอน ให้อบรมช่วงปิดเทอม ส่วนน้องกลุ่มหนึ่ง (วางแผนร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง)
สะท้อน กิจกรรมคู่พัฒนา
ครูเจษกับครูนัท : มีการติดตามงานน้องในส่วนที่มอบหมาย และเห็นความตั้งใจ น้องก็ทำได้ดี
                           : ไม่รู้ว่าน้องจะไม่ทำงานต่อ จึงทำให้ต้องทบทวนตนเองในเรื่องที่ต้องรู้จักคู่พัฒนามากขึ้น
ครูสังข์กับครูหนัน : จะช่วยน้องไม่เยอะเพราะด้วยงานของตนเองด้วย
                           : เห็นความตั้งใจ ความพยายาม และความกระตือรือร้นของน้อง
ครูป้อมกับครูแต    : ไม่ค่อยได้เจอน้อง
                           : น้องดูแลตัวเองได้ดี
ครูต๊อกกับครูต้น   : จะได้ช่วยน้องในเรื่องการจัดระบบการทำงาน เพราะน้องมักจะลืมงานและเรียงลำดับ                      ความสำคัญของงานไม่ได้
                           : ไม่รู้ว่าน้องจะทำงานกับเรานานเท่าไร และตอนนี้น้องก็จะมีงานสอน
ครูฝนกับครูบาส    : จะมอบหมายงานให้น้องน้อย เพราะกลัวน้องจะหนัก
                           : สังเกตเห็นน้องจะไม่กล้าเข้าหาและถาม จึงจะพัฒนาตนเองเรื่องนี้ คือจะพยายามเข้าหาน้องให้มาก
                          : ขณะที่ทำงานร่วมกันจะชื่นชมและเปิดเวทีให้น้อง
ครูเส็งกับครูจุล      : ช่วงแรกครูจุลจะไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยถาม จึงพยายามชวนคุยและพูด
                           : แรกๆจะเจอปัญหาเรื่องการเก็บเด็ก การออกแบบการสอน ทำให้ได้ช่วยแนะและแลกเปลี่ยน เมื่อเวลาผ่านไปเห็นว่าครูจุลเริ่มพัฒนาขึ้นและเข้าใจเด็กๆมากขึ้น
ปัญหาอีกเรื่องคือ งานเอกสารภาษาอังกฤษ ที่ส่งไม่ทันตามเวลา อาจจะเป็นเพราะครูจุลคิดเยอะและกว่าออกมาไม่ดี
ครูกลอยกับครูเหมี่ยว : เอกสารต่างๆครูเหมี่ยวไม่มีปัญหาทำได้ดี
                                : พัฒนาโดยการทำร่วมกัน เช่นจิตศึกษา Body scan 2/สัปดาห์
                                : ครูเหมี่ยวมีความกล้ามากขึ้น กล้าที่จะตัดสินใจและทำ
ครูน้ำผึ้งกับครูอุ๋ม : จะช่วยน้องตอนที่ตรวจแผนและพูดคุยกันในช่วงนี้เป็นส่วนใหญ่
                           : ครูอุ๋มทำได้ดีในระดับหนึ่งเรื่อง PBL แต่ถ้าได้พัฒนาน้องต่อจะพัฒนาเรื่อง PBL    ให้น้องเข้าใจและสามารถออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับเรื่องที่เรียนและเป็น Active
ครูแดงกับครูนิ่ม    : การพูดคุยยังน้อย น้อยมาก บางครั้งเชื่อใจและปล่อยให้ทำงานเอง การทุ่มเทและสละเวลาส่วนตัวน้อย
                           : น้องสามารถทำงานได้ดีในระดับ 1 เช่น ท่าที การดูแลเด็กๆ อยากพัฒนาน้องต่อในเรื่องการพูดคุยกันให้มากขึ้น การติดตามงาน ช่วยน้องในเรื่องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
ครูฟ้ากับครูดอกไม้ : ช่วงแรกจะคุยกันเยอะ               
    : ต่อมาเปิดเวทีให้น้องได้ทำเช่น จิตศึกษา Body scan 2/สัปดาห์
    : เวลาผ่านไปสักพักน้องพัฒนาตนเองเร็วขึ้น อาจจะพัฒนาเร็วกว่าตัวเราเองด้วยซ้ำ ในบางครั้งปล่อยให้น้องได้จัดการห้องเรียนและเฝ้าดู
คู่พัฒนา ปีการศึกษา 2558
ครูต๊อกกับครูต้น  
ครูป้อมกับครูจุล
ครูน้ำผึ้งกับครูอุ๋ม
ครูกลอยกับครูเหมี่ยว
ครูฝนกับครูบาส
ครูแดงกับครูนิ่ม ครูฝึกสอน
ครูเส็งกับครูฝึกสอน
ครูดอกไม้กับครูณี
ครูฟ้ากับครูแป้ง ครูฝึกสอน
ครูสังข์กับครูหนัน  
หมายเหตุ
        กิจกรรมพัฒนาครูใหม่   กิจกรรมคู่พัฒนา จะทำต่อในปีการศึกษา 2558
งานที่ต้องรับผิดชอบ
งานวิชาการ
ด้านเอกสาร ครูกลอยกับครูเส็ง ครูเจษทำร่วม
งานธุรการ
ด้านเงินสื่อ อนุบาล: ครูแดง ประถม : ครูฟ้า และมัธยม : ครูป้อม
งานครุภัณฑ์
ด้านตรวจเช็คพัสดุและครุภัณฑ์ ครูป้อมและครูฟ้า
งานสนับสนุน
ครูเจษกับครูต๊อก ครูเส็งทำร่วม
งานอบรม
-
งานสมาคม
ครูน้ำผึ้งและครูสังข์

งานกิจกรรม
สานติ ครูแดงกับครูเส็ง
งานสอน
อนุบาล
(ครูแดงดูแล เรื่องไทย คณิต อังกฤษ PBL)
ประถม
คณิตศาสตร์ : ครูกลอย เป็นหลัก ประถม
ไทย : ครูฟ้า จะช่วยดูแลเรื่องเอกสาร แนะนำ ฯลฯ
PBL : ครูฝน จะช่วยดูแลเรื่องเอกสาร แนะนำ ฯลฯ
มัธยม
คณิตศาสตร์ : ครูป้อม เป็นหลักมัธยม
ไทย : ครูณี
PBL : ครูป้อม ครูเส็ง จะช่วยดูแลเรื่องเอกสาร แนะนำ ฯลฯ

อื่นๆ
22-24 เมษายน 2558 ปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียน

ปิดการประชุม -เวลา 16:40 . / ครูฟ้า : บันทึกการประชุม

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(5) -ครูนิ่ม, ครูจุล, ครูแต, ครูเดีย

กิจกรรม จิตศึกษาส่งเทียน -โดย ครูนิ่ม
เป้าหมาย:
- บ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม
- มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- เห็นความเชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตัวเอง คนอื่น หรือสิ่งของ
- มีความรัก ความเมตตา เคารพนอบน้อมต่อทุกสรรพสิ่ง

กิจกรรม:
- ครูใช้กิจกรรมสติ “รู้ลมหายใจ” ครูให้พี่ม.2 หลับตา2 นาที ขอให้พี่ๆอยู่กับลมหายใจเริ่มต้นหายใจด้วยการหายใจเข้าออก สัก 5 ลมหายใจ สังเกตลมหายใจที่ปลายจมูกข้างที่สัมผัสที่ชัดที่สุดแล้วตามไปดูลมหายใจ กลับมารู้ลมหายใจ
- Brain Gym กำกับสติ 2 ท่า ท่ากำแบ 10 ครั้ง ขนมจีบกับตัวแอล 10 ครั้ง , กระต่ายกับกอหญ้า 10 ครั้ง
- ครูนิ่มมีเรื่องเล่าของตัวเองเกี่ยวกับการย้อนเวลาไป 5 ปีและเล่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะทำอะไรเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม หลังจากนั้นครูนิ่มส่งเทียนไปทางขวามือเพื่อให้พี่ๆ ม.2 ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการย้อนเวลาไป 5 ปี สิ่งที่ประทับ ชอบมากที่สุด หรือปัญหาที่คาใจและเล่า 5 ปีข้างหน้าจะทำอะไร นักเรียนแต่ละคนช่วยเล่าเรื่องราว
- หลังจากเสร็จกิจกรรมครูขอบคุณทุกเรื่องราวดีๆ ขอบคุณทุกความตั้งใจของพี่ๆ ม. 2

อุปกรณ์:  เทียนหอม

ครูเส็งสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- ครูมีการวางแผนกิจกรรม เตรียมสื่อ/อุปกรณ์
- ครูมีการเตรียมความพร้อมโดยให้นักเรียนนั่ง
หลับตา รับรู้ลมหายใจตนเอง
- คุณครูมีความตั้งใจ ใช้น้ำเสียงเป็นธรรมชาติ เป็นมิตรกับนักเรียน
- ครูให้กำลังใจนักเรียนระหว่างทำกิจกรรม
................................................................................................

กิจกรรม เล่าประสบการณ์ในต่างแดน -โดย ครูจุล
เป้าหมาย:
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างครูกับนักเรียน
- กลับมาใคร่ครวญกับตัวเองถึงประสบการณ์ในอดีต

กิจกรรม: - ครูพูดคุยทักทายนักเรียน
- สติสนทนา ครูให้นักเรียนหลับตา รับรู้ความรู้สึกของลมหายใจเข้า-ออกที่ปลายจมูก
- Brain Gym ครูให้นักเรียนทำท่ากำแบ 10 ครั้ง และขนมจีบ-ตัวL 10 ครั้ง
- ครูให้นักเรียนทุกคนพูดชื่อเล่นของตนเอง แนะนำให้ครูได้รู้จัก
- ครูสร้างขอตกลงว่า ระหว่างที่ครูพูด เล่าเรื่อง นักเรียนจะเป็นผู้ฟังที่ดี จากนั้น ครูเล่าประสบการณ์ และเหตุการณ์ประทับใจในต่างแดน
- ครูแจกกระดาษและดินสอให้นักเรียนเขียนเหตุการณ์ประทับใจตั้งแต่เริ่มเรียนที่โรงเรียนนี้จนถึงปัจจุบัน คนละ 1 เรื่อง ให้เวลา 5 นาที
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนพูดเล่าเหตุการณ์ประทับใจให้เพื่อนๆ ในห้องฟัง

อุปกรณ์: ดินสอ /กระดาษ

ครูหนันสะท้อนกิจกรรมดังนี้ครับ
- การใช้สติสนทนาในการเริ่มทำกิจกรรม
- เนื้อเรื่องที่เล่าน่าสนใจตามวัย เช่น เรื่องฟุตบอลสำหรับพี่ๆ ผู้ชาย และเรื่องแปลกใหม่ เรื่องอาหาร สำหรับพี่ผู้หญิง
................................................................................................

ชื่อกิจกรรม “ภาพแห่งความสัมพันธ์” -โดย ครูแต
เป้าหมาย –มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-เห็นความสัมพันธ์และเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ

กิจกรรม -พูดคุยสนทนาทักทายกันตอนเช้า
-ครูเฟิร์นใช้สติสนทนาให้กลับมาอยู่กับตัวเองทบทวนสิ่งที่เกิดตั้งแต่เช้ากำหนดรู้ที่ลมหายใจของตัวเอง
-Brain gym กำแบ แตะส่วนต่างๆของร่างกายมีสติอยู่กับตัวเอง
-วันนี้ค่ะครูเฟิร์นมีกิจกรรมดีๆมาทำร่วมกับพี่ๆม.1 ครูเฟิร์นมีสิ่งของสิ่งหนึ่งมาร่วมเรียนรู้กับพี่ๆค่ะ จากนั้นร่วมสร้างข้อตกลงร่วมกันและเล่าถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน
-ครูเฟิร์นเริ่มแจกซองจดหมายแล้วให้วางไว้ตรงหน้าของตนเอง หลังจากนั้นก่อนที่จะเริ่มเล่าครูเฟิร์นให้พี่ๆกลับมาอยู่กับตัวเองก่อนที่จะเล่าเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟัง นอกจากนั้นร่วมกันแต่งนิทานจากสิ่งที่ได้โดยครูเฟิร์นเป็นคนเริ่มกิจกรรมก่อนแล้วเวียนไปทางด้านขวามือของครู
-หลังจากเสร็จกิจกรรมครูเฟิร์นให้พี่ๆกลับมาอยู่กับตัวเอง (ใช้สติสนทนา) และถามว่าพี่ๆได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรม

คุณครูณีร่วมสะท้อนกิจกรรมดังนี้
-ใช้กิจกรรมสติสนทนาเพื่อให้เด็กกลับมาอยู่กับตัวเองทั้งก่อนและหลังกิจกรรม
-มีการนำเรื่อง เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรม
-Brain gym ก่อนที่จะทำกิจกรรม
-มีการเตรียมอุปกรณ์
................................................................................................

ชื่อกิจกรรม “ดินน้ำมันแปลงร่าง”  -โดย ครูเดีย
เป้าหมาย - มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ
- ใจเย็นมีความอดทนและรู้จักรอคอย
- ฝึกประสาทสัมผัสความสัมพันธ์ของมือและตา

กิจกรรม - ทักทาย พูดคุยกันตอนเช้า
- Brain gym 3 ท่า ขนมจีบ-ถาดตัวแอล, กระต่าย-กอหญ้า, หมาป่า-กระต่าย
- ครูเดียเริ่มต้นด้วยการให้น้องอนุบาล 1 สูดหายใจเข้าออกยาวๆสัก 3 ลมหายใจ จากนั้นให้ กลับรับรู้ลมหายใจปกติ
- ครูเดียสร้างข้อตกลงร่วมกันว่าจะส่งอุปกรณ์ด้วยความตั้งใจ เมื่อรับอุปกรณ์แล้วจะ วางมือทั้ง 2 ข้าง ไว้บนตักของตัวเอง
- ครูเดียและน้องอนุบาล 1 แปลงร่างดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการ จากนั้นพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทีละคนด้วยความตั้งใจและมีสติ

สื่อ - ดินน้ำมัน

ครูแดงร่วมสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- ทำได้ดีแล้ว
1. ท่าทีน้ำเสียงเป็นกันเอง มีความตั้งใจ
2. เรื่องเล่า/เสริมแรง ในช่วงที่นอนปลาดาวได้ดี
3. เตรียมอุปกรณ์พร้อม
4. ยิ้มและให้กำลังใจกับเด็กๆ ขณะที่ทำกิจกรรมตลอดเวลา
5. ชื่นชม/เสริมแรงกับเด็กๆ ขณะที่ส่ง-รับอุปกรณ์กับเพื่อน ไหว้กันและกัน

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(4) -ครูนัฐ, ครูเดีย, ครูเหมี่ยว, ครูนาจ

กิจกรรมจิตศึกษา “สิ่งที่อยู่รอบตัว” -โดย ครูนัฐ
เป้าหมาย
-มีสมาธิและรู้ตัว
-การสังเกตของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้างตัวเอง
-ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองให้เพื่อนฟังได้

กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียน
-กำกับสติสติ โดยการให้ยืนสงบนิ่งอยู่กับตัวเองและนึกถึงสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว 2 นาที
-ครูให้โจทย์กับนักเรียน โดยการเดินสำรวจรอบๆอาคารมัธยมและให้สังเกตสิ่งต่างๆที่อยู่รอบข้าง เป็นเวลา 5 นาที แล้วนัดหมายให้นักเรียนรวมกันที่ใต้ถุน ม.1
-ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการเดินสำรวจ ว่าพี่ๆ ม.1 แต่ละคนมองเห็นอะไรบ้างในขณะที่เดินสำรวจ และถ่ายทอดให้เพื่อนๆฟัง
-ครูสนทนาและตั้งคำถามกับนักเรียน กับสิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็นในระหว่างที่เดินสำรวจว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง (ตนเองและสภาพแวดล้อม)
-ครูเล่าเรื่อง เกี่ยวกับการสังเกตเพื่อให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดและแทรกข้อคิดกับนักเรียนในช่วงท้าย

ครูประจำชั้นสะท้อนกิจกรรม(ครูณี/ครูป้อม)
-การใช้น้ำเสียงธรรมชาติ คำพูดที่น่าฟัง
-การเตรียมเรื่องเล่าเหมาะสมกับวัยของนักเรียน
-การใช้เวลาที่เหมาะสม
-การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน
.........................................................................................................


ชื่อกิจกรรม
ร้อยดอกรัก” -โดย ครูเดีย
เป้าหมาย - มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ
- ฝึกประสาทสัมผัสความสัมพันธ์ของมือและตา
- ใจเย็นมีความอดทนและรู้จักรอคอย
กิจกรรม
- ทักทาย พูดคุยกันตอนเช้า
- Brain gym 2 ท่า ขนมจีบ-ถาดตัวแอล, กระต่าย-กอหญ้า
- ครูเดียเริ่มต้นด้วยการถามพี่ๆ ป.4 ว่าพี่ๆ คิดว่าสิ่งที่มองเห็นคืออะไร, ทำอะไรได้บ้าง-ทำอะไรไม่ได้บ้าง
- ครูและเด็กๆ สร้างข้อตกลงร่วมกันว่าจะส่งอุปกรณ์ด้วยความตั้งใจ เมื่อรับอุปกรณ์แล้วจะวางมือทั้ง 2 ข้าง ไว้บนตักของตัวเอง
- ครูเริ่มส่งอุปกรณ์ให้พี่ ป.4 จากนั้นพี่ๆ ป.4 ก็ลงมือร้อยดอกรักด้วยความตั้งใจและมีสติขณะที่ทำก็รับรู้ถึงลมหายใจเข้าออก
สื่อ : เชือกร้อย / ดอกรัก
.....................................................................

กิจกรรม จิตแปลงร่างเมล็ดถั่วเป็นผลไม้ -โดย ครูเหมี่ยว
เป้าหมาย:
- บ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม
- มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- เห็นความเชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตัวเอง คนอื่น หรือสิ่งของ
- เห็นความแตกต่างของสี และลักษณะต่างๆ
- มีความรัก ความเมตตา เคารพนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
กิจกรรม:
- Brain Gym กำกับสติ 2 ท่า ท่ากำแบ 10 ครั้ง ตะปูและค้อน, กอหญ้าและกระต่าย 10 ครั้ง
- ครูเหมี่ยวมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ที่ออกหากินผลไม้ให้เด็กๆได้ฟังเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม
- ครูให้นักเรียนแปลงร่างเมล็ดถั่วเป็นผลไม้ที่ค้างคาวกิน
- เมื่อแปลงร่างเสร็จแล้วครูมีคำถามนักเรียนว่าเพราะเหตุใดพี่ป1ถึงแปลงร่างพี่ถั่วเป็นผลไม้นั้น
- ครูให้พี่ๆ แยกสีถั่วเขียวและถั่วแดง
- ครูขอสัญญาณความพร้อมจากพี่ป1 คนที่น่ารักจะส่งสัญญาณให้ครูโดยการนั่งตัวตรงหลังตรง
- ครูขอบคุณทุกเรื่องราวดีๆทุกความตั้งใจของพี่ป1
อุปกรณ์: เมล็ดถั่วเขียวและถั่วแดง

ครูเจษสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- เตรียมอุปกรณ์และสื่อ
- ก่อนทำ Brain Gym มีการเล่าเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ทำ
- มีการชื่นชม
............................................................................

กิจกรรมจิตศึกษา พี่จุด พี่เส้นประ พี่เส้นตรง แห่งจินตนาการ -โดย ครูนาจ
เป้าหมาย:
- มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- เห็นคุณค่าของตนเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีสติ
กิจกรรม:
- พูดคุยสนทนาทักทายนักเรียนตอนเช้า
- Brain Gym กำกับสติ 2 ท่า ท่ากำแบ 10 ครั้ง จีบแอล 10 ครั้ง
- สติสนทนา กำหนดลมหายใจเข้าออก 2 นาที ครูนาจเล่า เรื่องสิ่งที่ประทับใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่มี ภูเขา นำ้ตก และสิ่งมีชีวิตต่างๆที่มาคอยแต่งเติมให้น้ำมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย
- ครูโชว์แผ่นป้าย จุด เส้นประ และเส้นตรง แล้วให้นักเรียนเล่าสิ่งที่ตนเองเห็น
- ครูแจกกระดาษรูปหัวใจ คนละ1อัน และสีเมจิกคนละ 1 ด้าม
- ครูขอสัญญาณความพร้อมจากพี่ป.2 พี่ที่น่ารักจะส่งสัญญาณโดยการนั่งหลังตรงตัวตรง
- ครูให้นักรียนทำ พี่จุด พี่เส้นประ พี่เส้นตรงโดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งมาตกแต่งพี่รูปหัวใจให้สวยงาม
- ครูขอสัญญาณความพร้อมจากพี่ป.2 พี่ที่น่ารักจะส่งสัญญาณโดยการนั่งหลังตรงตัวตรง
- ให้นักเรียนโชว์ชิ้นงานและนำเสนอให้เพื่อนๆฟัง
- ครูขอบคุณทุกความตั้งใจ เรื่องราวดีๆและความร่วมมือของพี่ป.2
- ให้นักเรียนมาอยู่กับตัวเองอยู่กับลมหายใจของตนเองเตรียมพร้อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป
สื่อและอุปกรณ์:  กระดาษรูปหัวใจ / สีเมจิก / แผ่นป้าย จุด เส้นประ เส้นตรง

ครูกลอยสะท้อนกิจกรรมดังนี้ครับ
- มีการตัวและเตรียมอุปกรณ์
- ใช้น้ำเสียงและโทนเสียง
- Empower ชื่นชม เสริมแรงเด็ก
............................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พี่พบน้องครั้งที่เจ็ด.. เทคนิคการเก็บเด็ก การตั้งชื่อหน่วยPBL?

ผู้ร่วมกิจกรรม ครูกลอย ครูเจษ ครูป้อม ครูNNK และ ครูกลุ่ม 1 (ยกเว้น ครูนัท ครูต้นยังไม่กลับจากน่าน)
เริ่มกิจกรรม เวลา 16:10 น.

        ครูป้อมนำกิจกรรมจิตศึกษา โดยมีอุปกรณ์ กระดาษและปากกาให้คนละ 1 ชุด แล้วให้ทุกคนวาดภาพตามที่ครูป้อมกำลังเล่า จากนั้นเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เล่าเรื่องราว หรือสิ่งที่กำลังคิดหรือกำลังนึกถึงในขณะที่ทำกิจกรรม
ซึ่งเรื่องราวที่คุณครูแต่ละคนถ่ายทอดออกมานั้นมีทั้งภาพในอดีตเมื่อตอนเป็นเด็กของตนเอง และมีทั้งภาพในอนาคตที่ใฝ่ฝัน เมื่อฟังแล้วรู้สึกมีความสุขและได้สัมผัสบรรยากาศในที่นั้นจริงๆ 
        ครูกลอยชวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปใช้กับชั้นเรียนของตนเอง จากนั้นได้แบ่งคุณครูออกเป็น 3 กลุ่ม แล้วให้แลกเปลี่ยนเพลง (เก็บเด็ก) ที่คิดว่าจะนำไปใช้ในชั้นเรียนได้พร้อมท่าทางประกอบประมาณ 15 – 20 นาที หลังจากนั้นชวนให้ทุกคนสะท้อนกิจกรรมที่เกิดขึ้นคิดว่าจะนำไปใช้กับการเรียนการสอน หรือกระบวนการจัดการในชั้นเรียนของตนเองได้อย่างไร
ซึ่งส่วนมากโดยเฉพาะคุณครูอนุบาลและคุณครูช่วงชั้นหนึ่งจะนำไปปรับใช้ในห้องเรียน เช่น เวลานักเรียนเริ่มขาดความสนใจ เล่นกัน คุยกันหรือบางเพลงนำไปใช้กับกิจกรรมจิตศึกษาได้ ส่วนคุณครูช่วงชั้นสองกับคุณครูมัธยมคิดว่าจะนำไปใช้ในกรณีออกไปเรียนรู้กลางแจ้ง เช่น ก่อนเล่นกีฬา สันทนาการ เป็นต้น
      หลังจากนั้นคุณครูแต่ละคนได้ Share ประสบการณ์ที่คิดว่าตนเองทำแล้วสำเร็จ และภูมิใจมากกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้เพื่อนๆ ชื่นชม และรับฟัง
จากที่ร่วม Share มีหลายวิธีแต่ละวิธีแตกต่างกันไป เช่น การชื่นชมคนที่น่ารัก การร้องเพลงเก็บ การแตะอวัยวะรอ เขียนชื่อคนที่น่ารักบนกระดาน เงียบเพื่อฟัง หาเรื่องเล่า นิทาน

      ต่อด้วยการชวนให้ทุกคนช่วยคิดว่าทำไมวิธีเดียวกัน บางคนทำแล้วสำเร็จ บางคนทำแล้วไม่สำเร็จ คิดว่ามีอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ / ทำไม
เมื่อชวนคิดแล้วข้อเสนอแนะก็จะมี สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง บุคลิก การเตรียมตัวก่อนทำให้กิจกรรมไหลลื่น

        ครูเจษชวนทุกคนคิดชื่อหน่วยที่เป็น PBL โดยเริ่มจากการชวนคิดก่อนว่า การสอนPBL เป็นอย่างไร จากนั้นทุกคนร่วมกันแลกเปลี่ยนชื่อหน่วยที่คิดว่าเป็น PBL พร้อมกับช่วยกันวิเคราะห์ว่าทำไมถึงคิดว่าเป็นชื่อหน่วยที่เป็น PBL โดยการอิงกับเนื้อหาของแต่ละชั้นเป็นหลัก เช่น

เรื่องฝากให้กับน้องๆ
1. การเตรียมตัวกิจกรรมหน้าเสาธง
2. เนื้อเพลง และท่าทางประกอบ (อาจจะเป็นคลิปก็ได้)
3. ความรับผิดชอบเรื่องเวรทั้งเช้า และบ่าย

*หมายเหตุ เนื่องจากในสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 2 – 6 ก.พ. 58 มีแขกสำคัญมาดูงานครูกลอย ครูเจษ และครูป้อมจึงเชิญชวนให้ครูน้องๆ เวียนจิตศึกษาอีกรอบเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะและกระตุ้นให้ครูน้องๆได้วางแผนล่วงหน้าในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละห้อง ดังนี้
เลิกกิจกรรม เวลา 19:00 น.
ผู้ดำเนินกิจกรรมครูกลอย ครูเจษ ครูป้อม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิตศึกษา(ครูใหม่) เวียนทำจิตศึกษา(3) -ครูดอกไม้, ครูแต, ครูท๊อป, ครูณัฐ

ชื่อกิจกรรมตาดูหูฟัง” -โดย ครูดอกไม้
เป้าหมาย
-มีสติจดจ่อกับสิ่งที่ทำสามารถฟังเรื่องราวที่คุณครูเล่าพร้อมทั้งใช้สายตามองไปด้วยว่าคุณครูทำอะไรขณะนั้น
-นอบน้อมต่อเพื่อน เคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ย่อมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

กิจกรรม
-ครูและพี่ทักทายกันในตอนเช้า
-Brain gym 3ท่า (กระต่าย-ต้นหญ้า,กระต่าย-ซาลาเปา,ซาลาเปา-งูใหญ่)
-ครูให้พี่ๆกำกับสติโดยการหายใจเข้าออกอย่างเป็นจังหวะช้าๆฟังเสียงหัวใจของตนเองดูการเต้นของหัวใจเป็นเวลา 1นาที
-ครูดอกไม้อธิบายกิจกรรมและสร้างข้อตกลงร่วมกัน
- พี่ๆฟังครูเล่าเรื่องราวพร้อมใช้สายมามองว่าคุณครูหยิบลูกปัดสีอะไรพี่ๆก็จะหยิบสีนั้นเช่นกันแล้วค่อยๆร้อยลงในเส้นสวดทีละลูก
- ครูแจกอุปกรณ์แล้วเริ่มเล่าเรื่องราวและเริ่มต้นรอบลูกปัด
- ก่อนจบกิจกรรมครูให้พี่ๆกับมารู้ตัวด้วน Brain gym ท่า ซาลาเปา-งูใหญ่
สื่อ : ลูกปัด /เส้นลวด /ถ้วยพลาสติก(ใบเล็ก)

คุณครูกลอยสะท้อนกิจกรรม
- มีการทักทายทำความรู้จักกัน
- กิจกรรมแปลกใหม่/สร้างสรรค์
- มีการเตรียมตัวดี(อุปกรณ์ ความพร้อม การลำดับกิจกรรม)
- กล่าวคำชื่นชม(empower)
- รู้จักชื่อเด็กๆทุกคน
.............................................................................................



ชื่อกิจกรรม: “เธอกับฉันร่วมกันเติมเต็ม” -โดย ครูแต
อุปกรณ์: ลูกยาง
เป้าหมาย:
- เห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆรอบตัว
- มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- มีความนอบน้อม เคารพต่อตนเองและผู้อื่น
กิจกรรม
- ครูและนักเรียนทักทายยามเช้า
- ครูแตให้เด็กได้กลับมารู้ตัวอยู่กับตัวเองโดยการหลับตาสัมผัสถึงลมหายใจของตัวเองประมาณ 3 นาที
- สร้างข้อตกลงร่วมกันในระหว่างการทำกิจกรรมว่าในระหว่างที่รับหรือส่งเราจะรับไหว้ด้วยความนอบน้อม และเมื่อได้สิ่งของแล้วจะวางไว้ด้านหน้าของตัวเอง
- ครูแตเริ่มส่งตะกร้าลูกยางไปด้านซ้ายและด้านขวาโดยให้เด็กๆหยิบคนละ 1 กำมือ คนที่ได้แล้วจะวางไว้ด้านหน้าของตัวเอง หลังจากนั้นครูแตให้เด็กๆเรียงลูกยางที่ทุกๆคนได้ไว้ด้านหน้าของตัวเองช่วยกันเติมเต็มให้เป็นวงกลมใหญ่
- ครูแตให้คนแรกเริ่มนับเมล็ดยางที่อยู่ด้านหน้าของตัวเองหลังจากนั้นคนต่อมานับจำนวนลูกยางที่อยู่ด้านหน้าตัวเองต่อจากคนแรก
- ครูแตกระตุ้นด้วยคำถาม “ถ้าวงกลมนี้เป็นโลกของเรา หนึ่งสิ่งพี่อยากจะเติมเต็มให้โลกของเราคืออะไร”

คุณครูฟ้าสะท้อนกิจกรรมดังนี้ค่ะ
- น้ำเสียงของคุณครู/ การชื่นชม/ ขอบคุณคนที่น่ารัก
- การเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า
- กิจกรรมน่าสนใจเป็นสิ่งใหม่ๆที่เด็กๆไม่เคยทำ
- เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
.............................................................................................

กิจกรรม : กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง -โดย ครูท๊อป
เป้าหมาย - เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักร่างกายและจิตใจมากขึ้นว่าทำงานกันอย่างไร
​- เพื่อให้เด็กมีสมาธิพร้อมที่จะเรียน
​- มีสร้างความคิดสร้างสรรค์
​- อธิบายผลงานของตนเองได้
​- เพื่อส่งเสริมการจินตนาการของเด็ก
กระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. หลังจากที่เคารพธงชาติ ครูพานักเรียนเดินกำกับสติ และพาเก็บใบไม้บริเวณทางเดินไปอาคารมัธยมเมื่อถึงห้องพานั่งเป็นวงกลม
2. ทำสมาธิ 3 นาที โดยให้ทุกคนค่อยๆหลับตาลง หายใจเข้าลึกๆและหายใจออกยาวๆ 5 ครั้ง สังเกตลมหายใจที่ปลายจมูก ข้างที่ชัดเจนมากที่สุด กลับมารู้ลมหานใจของตนเอง รู้ในการพูดและการฟัง
3. ครูแจกกระดาษ A4 ให้ทุกคน โดยวิธีการส่งต่อกันซึ่งก่อนที่จะรับทุกคนจะไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อมจนครบทุกคน
4. ครูอ่านบทความ “กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง”
"อากาศในสวนธรรมเช้านี้ช่างฉ่ำเย็น ด้วยหยาดฝนเม็ดสุดท้ายเพิ่งหยุดไป
วันนี้เป็นวันขี้เกียจของฉัน จึงได้โอกาสมาเดินเล่น
เมื่อก้าวย่างผ่านสะพานแห่งสติเข้าสู่ธรรมศาลา ก็ได้ยินเสียงกวาดใบไม้ทั่วบริเวณ
ฉันจับไม้กวาดแล้วเริ่มกวาด … ร่ายกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
กวาด…กวาด…กวาด
จิตหนีไปคิดก็รู้ ความคิดดับไป จิตเบิกบาน
จิตบางครั้งก็เป็นคนดู บางครั้งก็กลายเป็นคนคิด
บางครั้งความคิดก็ยาวกว่าจะรู้ทัน

เมื่อความคิดทำงาน
ใบไม้บางใบ … กวาดครั้งเดียวก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … เกาะกับพื้นไม้ที่เปียกชุ่ม …กวาดครั้งที่สองก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … ติดแน่น ถึงแม้กวาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าว ก็ไม่ยอมออก
​กิเลสก็เช่นเดียวกัน บางตัวออกง่าย บางตัวออกยาก บางตัวต้องกระทุ้ง บางตัวแค่สะกิด เราจึงต้องมีเครื่องมือหลายชนิดให้เหมาะกับกิเลสแต่ละแบบ และหากเรายังไม่ยอมหยุดเดินและยังคงเป็นผู้ดู กิเลสทั้งหมดต้องหลุดออกไปแน่นอน เฉกเช่นเดียวกับใบไม้บนลานนี้
จิตที่เป็นคนดู… บางครั้งก็เห็นความรู้สึกทางกายบ้าง ทางใจบ้าง
บางครั้งรู้สึกท้อแท้ เมื่อเผลอมองลานไม้อันกว้างใหญ่ที่มีใบไม้น้อยใหญ่ปกคลุม
เมื่อจิตมีความอยากให้เสร็จเร็ว พอตาเห็นลานกว้างเต็มไปด้วยใบไม้ จิตคิดว่าลานกว้างเหลือเกิน จะเสร็จไหม? จึงเกิดความรู้สึกท้อแท้ เมื่อจิตมีความอยาก แล้วไม่ได้อย่างที่อยาก ...จิตก็ทุกข์
บางครั้งรู้สึกหงุดหงิดใจ เมื่อแขนชักจะเริ่มเมื่อย
เมื่อทุกขเวทนาทางกายแทรกตัวเข้ามาในแขนตอนกำลังกวาด เกิดความรู้สึกหงุดหงิด…เป็นทุกข์ทางใจ
บางครั้งรู้สึกปลื้ม ที่ได้เห็นลานกว้างโล่งปราศจากใบไม้
เมื่อตาเห็นลานโล่ง ความคิดปรุงว่าได้ทำเสร็จแล้วและเป็นประโยชน์ เกิดความรู้สึกแช่มชื่นในจิต…เป็นกุศล
​กุศล อกุศล เวียนกันเกิด ผลัดกันดับ
ร่างกายถูกรู้ กับจิตใจที่เป็นคนดู เขาอยู่คนละส่วนกัน
เพียงแค่กวาดใบไม้หนึ่งชั่วโมง
ฉันได้รู้จักร่างกายและจิตใจมากขึ้นว่าเขาทำงานกันอย่างไร
เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
.. นี่คงเป็นความหมายของคำว่า “กายเคลื่อนไหว ใจตั้งมั่น”
ที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆในเสถียรธรรมสถาน
สวัสดีครับคุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาทุกท่าน"
5. ครูกระตุ้นด้วยถาม จากที่นักเรียนได้ฟังบทความข้างต้นนี้นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรและการที่เราเก็บใบไม้และฟังบทความที่ครูอ่านมีความแตกต่างกันอย่างไรโดยการเขียนหรือวาดภาพสื่อความรู้สึกลงในกระดาษที่แจก
6. ให้นักเรียนอ่านสิ่งที่ตนเองเขียนให้เพื่อนในห้องฟังจนครับทุกคน
7. ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า จากกิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้บ้างโดยให้นักเรียนบอกทีละคนจนครับทุกคน
8. ให้นักเรียนมาอยู่กับตัวเองมาอยู่กับลมหายใจของตัวพร้อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป

สะท้อนกิจกรรม
_ครูท๊อบเตรียมตัวก่อนทำกิจกรรมได้ดี มีการวางแผน เข้ามาพูดคุยกันล่วงหน้า
_กิจกรรมเหมาะกับเด็กมัธยม
_เวลาเหมาะสม และสร้างบรรยากาศด้วยการEmpower ตลอดเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์
.............................................................................................

กิจกรรมจิตศึกษาดัดลวด ขมวดคิด” -โดย ครูณัฐ
เป้าหมาย
-มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
-เห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
-บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก และเพื่อให้เกิดความพยายาม
กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียน
-กำกับสติโดยการ Brain Gym 2 กระบวนท่า
-นักเรียนนั่งหลับตา 2 นาที เพื่อให้มีสติอยู่กับตัวเองและนึกถึงสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
-ครูนำอุปกรณ์(ลวด)มาวางไว้ด้านหน้า แล้วถามคำถามกับนักเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น สามารถนำมาทำเป็นอะไรได้บ้าง
-ครูแจกอุปกรณ์กับนักเรียนโดยการส่งไปเรื่อยๆทีละคนด้วยความนอบน้อม
-นักเรียนนำลวดที่แจกให้ มาดัดเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
-เมื่อดัดลวดออกมาเป็นรูปร่างที่ต้องการแล้ว ครูให้นักเรียนเล่าถึงสิ่งที่ทำออกมาว่ามีความเกี่ยวข้องและสำคัญกับตัวเองยังไงบ้าง
-ครูสรุป แทรกข้อคิดและถามคำถาม”นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้”

ครูแป้งสะท้อนกิจกรรม
-มีเป้าหมายที่ชัดเจน
-เป็นกิจกรรมใหม่ที่นำมาใช้และน่าสนใจ
-การใช้เส้นลวดที่ใหญ่ทำให้เด็กได้คิดวิธีแก้ปัญหาได้มากขึ้น
-เด็กสามารถจดจ่อกับสิ่งที่ครูพาทำได้ดี และให้ความร่วมมืออยู่กับกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
-มีการชื่นชมและให้กำลังใจได้ดี
-เด็กสามารถเชื่อมเชื่อมโยงกับสิ่งที่ทำได้ดีมาก